
ว21172 เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)2
Benjamarachutit
Computing science2
การแก้ปัญหาด้วยไพทอน
© ตัวดำเนินการบูลีน
© เงื่อนไขทางเลือก
© การวนซ้ำด้วยคำสั่ง While
© ฟังก์ชัน
03
การแก้ปัญหาด้วยไพทอน
3.1 ตัวดำเนินการบูลีน
ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนสามารถเขียนโปรแกรมไพทอนให้มีการตัดสินใจทํางานแบบมีทางเลือก โดยใช้คําสั่ง if และ if-else ในเบื้องต้นมาแล้ว ในบทนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้นิพจน์เปรียบเทียบ และ ตัวดําเนินการบูลีน เพื่อที่จะสามารถกําหนดเงื่อนไขสําหรับการทํางานแบบมีทางเลือกของคําสั่ง if ได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นิพจน์เปรียบเทียบที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นนิพจน์เปรียบเทียบอย่างง่าย โดยเป็นการเปรียบเทียบค่าชนิดเดียวกัน ด้วยตัวดําเนินการเปรียบเทียบเท่านั้น แต่หากต้องการกําหนดเงื่อนไขที่ซับซ้อนขึ้น สามารถใช้ตัวดําเนินการบูลีน ได้แก่ and or หรือ not ในการเชื่อมต่อนิพจน์เปรียบเทียบอย่างง่ายเข้าด้วยกันได้

ผลลัพธ์ที่ได้จากการเชื่อมนิพจน์ 2 นิพจน์ด้วย and จะเป็นจริง (True) ถ้าทั้งสองนิพจน์เป็นจริงทั้งคู่ ส่วนกรณี อื่น ๆ จะเป็นเท็จ (False) เช่น ถ้าตัวแปร height เก็บค่า 120 และตัวแปร age เก็บค่า 3 แล้วมีเงื่อนไข height <= 115 and age <= 3 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเท็จ

นิพจน์ที่เชื่อมด้วย or จะเป็นจริง ถ้าอย่างน้อยหนึ่งนิพจน์ เป็นจริง ตัวอย่างเช่น ถ้าตัวแปร height เก็บค่า 120 และตัวแปร age เก็บค่า 3 แล้ว มีเงื่อนไข height <= 115 or age <= 3 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจริง

นิพจน์ที่มี not นําหน้าจะมีค่าความจริงเป็นตรงกันข้าม ตัวอย่างเช่น ถ้าตัวแปร height เก็บค่า 120 แล้ว มีเงื่อนไข not height <= 115 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจริง
ตัวอย่างที่ 3.1 การหาผลลัพธ์ค่าความจริงจากนิพจน์เปรียบเทียบที่มีการใช้ตัวดำเนินการบูลีน

ตัวอย่างที่ 3.2 เขียนโปรแกรมภาษาไพทอนเพื่อแก้ปัญหาการคิดค่าโดยสารในตัวอย่างที่ 3.2

ตัวอย่างที่ 3.2 อธิบายได้ดังนี้
-
บรรทัดที่ 1 ถึง 12 เป็นการใช้คำสั่งไพทอนตามที่ได้เคยศึกษามาแล้ว
-
บรรทัดที่ 13 กำหนดเงื่อนไขสำหรับตรวจสอบว่าต้องลดค่าโดยสาร 10% หรือไม่กรณีที่จำนวนผู้โดยสารรวม (ตัวแปร all) ไม่เกิน 30 คน ค่าโดยสารรวม (ตัวแปร total) มีค่าตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป และถ้าเงื่อนไขเป็นจริง จะคำนวณราคาที่ลดแล้วและแสดงผลในบรรทัดที่ 15