top of page

1.5  การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม

 

         “ลิขสิทธิ์ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และความวิริยอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง  โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์ โดยไม่ต้องจดทะเบียน” กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ชวนคิด

ผลงานที่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง 

ผลงานที่ไม่มีลิขสิทธ์มีอะไรบ้าง 

เจ้าของผลงานที่มีลิขสิทธ์จะสามารถทําอะไรในผลงานนั้นได้บ้าง

          ผู้ใดต้องการใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ (copyright) ต้องได้รับอนุญาตจาก เจ้าของผลงานเพราะกฎหมายให้ความ คุ้มครอง แต่ก็มีข้อยกเว้นให้ใช้งานได้ บางอย่างโดยไม่ต้องขออนุญาต หรือที่ เรียกว่า การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (fair use) เช่น ใช้ในการเรียนการสอน การรายงานข่าว แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกับ เจ้าของลิขสิทธิ์ โดยมีหลักในการพิจารณา

วัตถุประสงค์และลักษณะการใช้งานลิขสิทธิ์

ผู้นําไปใช้ต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือหากําไร ไม่มี เจตนาทุจริต และใช้เพื่อประโยชน์แก่สังคม

ลักษณะงานอันมีลิขสิทธิ์

          ผู้นําไปใช้ต้องพิจารณาระดับของการสร้างสรรค์ผลงาน การใช้ความวิริยอุตสาหะ หรือการใช้จินตนาการสูง เช่น นวนิยาย หรือการรายงานเหตุการณ์ที่เฉพาะ ไม่ควรนําผลงานเหล่านี้ไปใช้ เพราะหากนําไปใช้จะถือว่าไม่เป็นธรรม

 

ปริมาณของการนําไปใช้

          การนําผลงานไปใช้ในปริมาณที่มากเกินไปหรือใช้ในปริมาณ น้อยแต่เป็นส่วนสําคัญ ถือว่าเป็นการใช้งานที่ไม่เป็นธรรมเพราะ กระทบต่อสิทธิ์ทางกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร

ผลกระทบต่อตลาดหรือมูลค่าของงานอันมีลิขสิทธิ์

          การใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นจะต้องไม่ขัดต่อการ แสวงหาประโยชน์ตามปกติของเจ้าของผลงาน อาจทําให้ผลงานนั้น ขายไม่ได้

สรุปท้ายบท

          การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัย และมีความสุขนั้น ผู้ใช้จําเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคโนโลยี และมีศิลปะในการใช้ชีวิตในสังคมดิจิทัลที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม ก่อนที่จะใช้ ข้อมูลต่าง ๆ จะต้องประเมินความน่าเชื่อถือโดย พิจารณาในประเด็นของพรอมท์ ได้แก่ การนําเสนอ Fake ความสัมพันธ์ วัตถุประสงค์ วิธีการ แหล่งที่มา และเวลา โดยต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล และต้องตระหนักถึงการให้เหตุผลที่ถูกต้องและ สอดคล้องกับความเป็นจริงเพื่อให้สามารถนําไป แก้ปัญหาได้ ผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีความ รอบคอบ ระมัดระวัง รู้เท่าทันสื่อ และข่าวลวงต่าง ๆ และปฏิบัติตามที่กฎหมายกําหนด เพราะความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจก่อปัญหาใหญ่และอาจทําให้ชีวิต เปลี่ยนไปในทางที่ไม่เหมาะสมได้

กิจกรรมท้ายบท

 

          ให้นักเรียนอภิปรายสถานการณ์ต่อไปนี้ถึงประเด็น การรู้เท่าทันสือ เหตุผลวิบัติ และกฎหมาย

          นาย ก แชร์ข่าวเกี่ยวกับ นาย ข กรณีเบิกเงินเพื่อ ซื้อหนังสือเล่มละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 100,000 บาท โดยใช้งบสวัสดิการในตําแหน่ง พร้อมกับมีภาพ นาย ข ถูกตัดต่อประกอบกับข่าวดังกล่าว ภายหลังนาย ข แจ้งความนาย ก ว่าเผยแพร่ข่าวปลอม ซึ่งนาย ก ยอมรับ แต่ยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนา และได้ลบข้อมูลออกแล้ว โดยเรื่องนี้ไม่ได้สร้างความตื่นตระหนกใด ๆ แก่สังคม หรือความมั่นคงของประเทศ แต่ส่งผลกระทบต่อ นาย ข เพียงคนเดียว อีกทั้งคนอื่นก็ได้มีการแชร์ข่าวนี้เช่นกัน ดังนั้น นาย ก จะต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด

กิจกรรมที่ 1.3  เรื่อง กฎหมายน่ารู้และการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม

2066457.png

อ้างอิงจาก หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

                  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

bottom of page