top of page

บทที่ 8 เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่า

บทที่ 8 เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่า

         8.1 การเพิ่มมูลค่าเทคโนโลยี

         8.2 เปิดโลกทรัพย์สินทางปัญญา    

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญา

2. วิเคราะห์และเสนอแนวทางการเพิ่มมูลค่าเทคโนโลยี

3. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในการพัฒนาผลงาน

             เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อแก้ปัญหาแล้วจึงควรเรียนรู้แนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานซึ่งจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้ผู้สร้างผลงานอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) เป็นสิ่งที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ผ่านผลงานของผู้สร้างและควรได้รับความคุ้มครองจากการละเมิดของผู้อื่น การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมากในประเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตลอดจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ อันจะนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่คนรุ่นใหม่เพื่อให้สามารถใช้องค์ความรู้ในการสร้างเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อไป

               บุคลากรที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ควรจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองซึ่งจะทำให้ได้รับความคุ้มครองไม่ให้บุคคลอื่นมาละเมิดนอกจากนี้ยังสามารถจำหน่ายและสร้างรายได้เป็นจำนวนมากอันจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความรู้และทักษะของคนในชาติดังนั้นนักเรียนจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองและการไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น

                 การเพิ่มมูลค่า (value addition) หมายถึงสิ่งต่างที่ผู้ผลิตใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนาขึ้นทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มทั้งด้านราคาและมูลค่าทางการตลาดซึ่งหมายถึงการรับรู้ถึงคุณค่าทางจิตใจของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นจากการประเมินค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยการเปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่ได้รับกลับมากับสิ่งที่ต้องเสียไปเพื่อให้ได้สิ่งนั้นและผู้ผลิตสามารถตอบสนองได้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคการเพิ่มมูลค่าสามารถทำได้หลายวิธี

             1. การปรับปรุงรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ผู้ผลิตใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือการบริการมีเอกลักษณ์แตกต่างจากของเดิมเช่นการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามและสะดุดตาผู้บริโภคการกดบัตรคิวแทนการต่อแถวเพื่อรอรับบริการ

               2. การปรับปรุงให้ผลิตภัณฑ์มีหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นผู้
ผลิตใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาหรือเพิ่มหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้นเช่นการพัฒนาเตียงนอนแบบเดิมให้สามารถพับเก็บได้หรือเปิดปิดได้โดยมีพื้นที่เก็บของ

               3. การได้รับมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์หรือบริการ
การได้รับมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นการแสดงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้นเช่นการได้เครื่องหมายรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) การผ่านการทดสอบคุณภาพจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

          4. การเปลี่ยนสถานที่หรือช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ผู้ผลิตเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อให้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการได้มากขึ้นเช่นการจำหน่ายผ่านแอปพลิเคชันเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์

                 การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการสามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนการเริ่มสร้างผลงานของตนเองหรือจากการนำผลงานที่มีอยู่แล้วไปศึกษาวิจัยเพื่อให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดเป็นผลงานใหม่โดยอ้างอิงผู้สร้างหรือแหล่งที่มาอย่างชัดเจนและอาจนำไปสู่การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งนักเรียนจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขอย่างรอบคอบเนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญามีหลายประเภทแต่ละประเภทก็มีเงื่อนไขในการพัฒนาเทคโนโลยีและการรับความคุ้มครองแตกต่างกัน

                  หากลองสังเกตเทคโนโลยีต่าง ๆ รอบตัวไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการเทคโนโลยีเหล่านั้นต่างมีผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาทั้งสิ้นและเมื่อพัฒนาเทคโนโลยีจนสามารถใช้แก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ได้แล้วจึงเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับรู้และอาจพัฒนาเพื่อการจำหน่ายและประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

                  ผลงานที่มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างสรรค์ตลอดจนผลงานที่นักเรียนสร้างขึ้นเช่นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้อำนวยความสะดวกหรือแก้ปัญหาหากผู้สร้างศึกษาประเภทของทรัพย์สินทางปัญญารายละเอียดเงื่อนไขของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวสามารถนำมาจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาได้

ทรัพย์สินทางปัญญา
           หมายถึงผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์หรือการประดิษฐ์คิดค้นของผู้สร้างซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
   1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
   2. ลิขสิทธิ์

           เนื่องจากทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและลิขสิทธิ์จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาเหมือนกัน แต่สามารถจำแนกรายละเอียดของสองประเภทนี้ได้อีกหลายชนิดรวมทั้งได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่แตกต่างกันจึงอาจมีคนเข้าใจผิดและนำไปใช้สลับกันทำให้เกิดความสับสนอยู่เสมอในส่วนนี้จึงแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ ดังรูป 3.7

          3.2.1 ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (industrial property) หมายถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการจำหน่ายทางด้านอุตสาหกรรมซึ่งจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายเมื่อผู้สร้างได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้วสิ่งที่จัดเป็นทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมเช่นสิทธิบัตรอนุสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าชื่อทางการค้าความลับทางการค้าแผนผังภูมิของวงจรรวมสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

                 1) สิทธิบัตร (patent) หมายถึงเอกสารแสดงการคุ้มครองผลงานซึ่งมี 2 ประเภทคือการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งแสดงสิทธิพิเศษที่รัฐมอบให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์มีสิทธิในการผลิตและการจำหน่ายตลอดจนกระทำการใด ๆ ก็ได้ แต่เพียงผู้เดียวในประเทศที่ตนเองจดสิทธิบัตรหรืออยู่ภายใต้อนุสัญญา / ความตกลงระหว่างประเทศรวมทั้งอยู่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้นเมื่อพ้นช่วงเวลาดังกล่าวแล้วผลงานนั้นจะตกเป็นของสาธารณะซึ่งทุกคนจะสามารถใช้ผลงานนั้นได้โดยอิสระเสรีสิทธิบัตรแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

             • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (invention patent) หมายถึงเอกสารแสดงการให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์เป็นเวลา 20 ปีโดยต้องเป็นการประดิษฐ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมและไม่เคยเผยแพร่ต่อสาธารณะมาก่อนต้องประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้และต้องไม่สามารถประดิษฐ์ขึ้นได้โดยง่ายโดยเน้นกลไกการทำงานภายในเช่นหุ่นยนต์สัตว์เคลื่อนที่เกมหรือสื่อประกอบการเรียนการสอน

             • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (product design patent) หมายถึงเอกสารแสดงการให้ความคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นเวลา 10 ปีโดยต้องเป็นการประดิษฐ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมเน้นรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ไม่เคยเผยแพร่ต่อสาธารณะมาก่อนและต้องประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้เช่นแผ่นพับกล่องเกมหรือสื่อประกอบการเรียนการสอน

              2) อนุสิทธิบัตร (petty patent) หมายถึงเอกสารแสดงการคุ้มครองการประดิษฐ์เพียงประเภทเดียวเท่านั้นเป็นเวลา 6 ปี แต่สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้งครั้งละ 2 ปีรวมเป็นเวลา 10 ปีอนุสิทธิบัตรจะคุ้มครองการประดิษฐ์ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมากหรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อยและมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นเช่นกลไกอย่างง่ายสื่อประกอบการเรียนการสอน

                ในการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตรกับอนุสิทธิบัตรนั้นผู้ขอรับความคุ้มครองจะต้องเลือกจดทะเบียนประเภทใดประเภทหนึ่งจะจดทะเบียนทั้งสองประเภทพร้อมกันไม่ได้

                3) เครื่องหมายการค้า (trademark)
                    หมายถึงสิ่งที่ใช้เครื่องหมายเช่นภาพถ่ายภาพวาดภาพประดิษฐ์ตราชื่อคำข้อความตัวหนังสือตัวเลขลายมือชื่อกลุ่มของสีรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุเสียงสัญลักษณ์หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่นและเป็นสิ่งที่รับประกันคุณภาพและความพึงพอใจตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์หรือบริการได้อีกด้วย

                 4) ชื่อทางการค้า (trade name)
                      หมายถึงชื่อเต็มขององค์กรสำหรับใช้ในการประกอบธุรกิจหรือกิจการค้าเช่น บริษัท ใบบัว จำกัด ซึ่งกฎหมายไม่บังคับว่าต้องจดทะเบียนชื่อทางการค้าจึงจะสามารถค้าขายได้เพียง แต่จะไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายดังนั้นการจดทะเบียนชื่อทางการค้าจึงเป็นการป้องกันการละเมิดจากผู้อื่นโดยสามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ 
บริษัท ใบบัว จำกัด 

           5) ความลับทางการค้า (trade secrets)
     
หมายถึงข้อมูลที่สามารถสื่อความให้เข้าใจเรื่องราวหรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ทางการค้าซึ่งบุคคลอื่นทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้เช่นส่วนผสมสูตรการผลิตสินค้า

          6) แบบผังภูมิของวงจรรวม(layout-design of
integrated circuit)

      หมายถึงการจัดทำแบบภาพหรือแผนผังเพื่อแสดงการจัดวางชิ้นส่วนทางไฟฟ้าวงจรเส้นทางเดินไฟฟ้าเป็นวงจรรวม
เช่น แผนผังวงจรรวมภาพลายเส้นของวงจรรวม

        7) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI บางครั้งใช้คำว่าสิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิด appellation of origin หรือ indication of Source)
            หมายถึงสิ่งที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์เช่นชื่อสัญลักษณ์พื้นที่ของประเทศเขตภูมิภาคและท้องถิ่นและหมายความรวมถึงทะเลทะเลสาบแม่น้ำลำน้ำเกาะภูเขาหรือพื้นที่อื่นทำนองเดียวกันซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถบอกให้ผู้บริโภครับรู้ได้ว่าสินค้านั้นมีแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ใดรวมทั้งเป็นการแสดงคุณภาพชื่อเสียงหรือคุณลักษณะพิเศษของสินค้าที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ที่เป็นแหล่งกำเนิดของสินค้านั้นหรือธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นตัวอย่างรายการสินค้า GI ของไทยเช่นข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ปลากุเลาเค็มตากใบไข่เค็มไชยามะขามหวานเพชรบูรณ์สับปะรดภูเก็ตเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงร่มบ่อสร้างผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์

            3.2.2 ลิขสิทธิ์ (copyright) หมายถึงทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งซึ่งกฎหมายให้สิทธิ์กับเจ้าของสามารถกระทำการใด ๆ ก็ได้กับผลงานของตนได้เพียงผู้เดียวเช่นคัดลอกทำซ้ำเผยแพร่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้อื่นคัดลอกทำซ้ำเผยแพร่โดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขก็ได้

            ผลงานลิขสิทธิ์สามารถแบ่งตามประเภทของงานได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้
            
            1) งานวรรณกรรม (literary works) หมายถึงงานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิดเช่นงานหนังสือบทประพันธ์ทุกชนิดทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองหนังสือจุลสารสิ่งเขียนสิ่งพิมพ์ปาฐกถาเทศนาคำปราศรัยสุนทรพจน์และงานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
            
            2) งานนาฏกรรม (dramatic works)
หมายถึงการแสดงท่าร่ายรำท่าเต้นหรือการเคลื่อนไหวต่าง ๆ รวมทั้งละครใบ้ซึ่งอาจมีเสียงดนตรีประกอบก็ได้
            
            3) งานศิลปกรรม (artistic works)
หมายถึงงานกลุ่มศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่นจิตรกรรมประติมากรรมสถาปัตยกรรมภาพถ่ายภาพพิมพ์ภาพประกอบต่าง ๆ (เช่นแผนที่ภาพโครงสร้างภาพร่างภาพสามมิติด้านภูมิศาสตร์ภูมิประเทศหรือวิทยาศาสตร์) และงานศิลปประยุกต์
            
            4) งานดนตรีกรรม (musical works)
หมายถึงงานเพลงที่เกิดจากการเรียบเรียงการขับร้องการบรรเลงซึ่งเพลงดังกล่าวอาจมีคำร้องทำนองด้วยก็ได้รวมทั้งการเรียบเรียงเสียงประสานโน้ตเพลง
         
            5) งานโสตทัศนวัสดุ (audio-visual works) หมายถึงการลำดับภาพและบันทึกภาพลงบนอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเล่นซ้ำได้โดยใช้อุปกรณ์อื่น ๆ รวมทั้งเสียงประกอบในงานนั้น

            6) งานภาพยนตร์ (cinematographic works) หมายถึงการลำดับภาพซึ่งสามารถบันทึกลงบนอุปกรณ์อื่น ๆ และสามารถแสดงต่อเนื่องได้รวมทั้งเสียงประกอบในงานนั้น

            7) สิ่งบันทึกเสียง (Sound recording) หมายถึงการลำดับเสียงดนตรีเสียงการแสดงหรือเสียงอื่น ๆ โดยบันทึกลงในอุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่สามารถนำกลับมาเล่นซ้ำได้ แต่ไม่รวมเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุ
    
            8) งานแพร่เสียงแพร่ภาพ (Sound / video broadcasting) หมายถึงการนำงานออกแสดงด้วยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียงหรือแพร่ภาพทางวิทยุโทรทัศน์หรือทั้งสองอย่างสู่สาธารณะโดยจะนำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือหลายชิ้นมาแพร่ภาพแพร่เสียงรวมกันก็ได้

           9) งานอื่นใดในแผนกวรรณคดีแผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ (production in the literary scientific and artistic domain) หมายถึงงานอื่น ๆ ที่มาจากแผนกวรรณคดีวิทยาศาสตร์หรือศิลปะซึ่งอาจเป็นงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ที่ไม่ได้จัดอยู่ในงานทั้ง 8 ประเภทที่กล่าวมา

             ผลงานดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นผลงานที่ไม่มีลิขสิทธิ์สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

        1. ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารซึ่งไม่ใช่งานในแผนกวรรณคดีแผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ
        2. รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
        3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวงทบวงกรมหน่วยงานของรัฐหรือของท้องถิ่น
        4. คำพิพากษาคำสั่งคำวินิจฉัยและรายงานของทางราชการ
        5. คำแปลและการรวบรวมผลงานตามข้อ 1-4 ซึ่งทางราชการจัดทำขึ้น
        6. ผลงานที่ผู้ถือครองลิขสิทธิ์ได้สละสิทธิ์ในในผลงานนั้นแล้ว โดยจะสละสิทธิ์ทั้งผลงานหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานก็ได้และส่วนที่ไม่สละสิทธิ์ก็ยังมีความคุ้มครองตามปกติ
        7. ผลงานที่หมดอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว
           
            ดังนั้นการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองจึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ควรระบุที่มาหรืออ้างอิงด้วยว่านำมาจากที่ใดหรือหน่วยงานใดอย่างไรก็ตามมีข้อควรระวังในการนำข่าวสารประจำวันมาใช้เนื่องจากข่าวนั้นอาจมีภาพถ่ายหรือคลิปวีดิทัศน์ที่มีลิขสิทธิ์หรือกล่าวพาดพิงถึงบุคคลหรือองค์กรซึ่งหากไม่เป็นความจริงผู้นำข่าวไปใช้อาจโดนฟ้องร้องในข้อหาอื่น ๆ ได้หรือการนำข้อมูลข่าวสารระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานต่าง ๆ ไปใช้แม้สิ่งเหล่านั้นไม่จัดเป็นลิขสิทธิ์ แต่หากเป็นข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติซึ่งถ้าเผยแพร่ไปแล้วจะเกิดความเสียหายกับประเทศชาติผู้นำไปใช้ก็อาจผิดกฎหมายข้ออื่นได้เช่นกัน

            เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาประเภทย่อยจะมีรายละเอียดและขั้นตอนในการจดทะเบียนคุ้มครองแตกต่างกันดังนั้นผลิตภัณฑ์หนึ่งชนิดอาจประกอบด้วยทรัพย์สินทางปัญญาหลายประเภทขึ้นอยู่กับการจดทะเบียนคุ้มครองของผู้ผลิตรวมทั้งการบครับมาตรฐานสาง ๆ ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญานเต่ละประเภทจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามประเภทนั้นเช่นพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

กรณีศึกษาต่อไปนี้เป็นผลงานการประดิษฐ์การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

         กรณีศึกษาที่ 1 ผลงานการประดิษฐ์ชื่อกระดานเกมบิงโกสำหรับการเรียนการสอน

         เกมบิงโกโดยทั่วไป  จะมีผู้บอกตัวเลขทีละจำนวนโดยที่ผู้เล่นแต่ละคนจะมีกระดาษตัวเลขซึ่งต้องแสดงให้เห็นว่าตัวเลขบนกระดาษของตนมีเลขครบตามผู้บอกจริงและเรียงเป็นเส้นตรงไม่ว่าจะเป็นแนวตั้งแนวนอนหรือแนวทแยงมุมผู้เล่นอาจทำเครื่องหมายที่ตัวเลขบนกระดาษเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าตนเองมีตัวเลขครบตามผู้บอกผู้เล่นคนใดมีตัวเลขที่ตรงกับผู้บอกได้ครบเป็นเส้นตรงตามแนวดังกล่าวได้ก่อนเป็นคนแรกจะเป็นผู้ชนะ

        ผลงานการประดิษฐ์กระดานเกมบิงโกนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อสำหรับการเรียนการสอนโดยที่สามารถใช้ได้หลายวิชาผู้เล่นจะใช้หมุดปักเป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงว่าตนเองมีตัวเลขและรูปภาพครบตามผู้บอกและเรียงเป็นเส้นตรงในแนวตั้งแนวนอนแนวทแยงมุมสี่มุมนอกหรือสี่มุมในส่วนสัญลักษณ์สสวท. ในแผ่นกระดานให้ถือว่าผู้เล่นได้ฟรีหนึ่งแต้ม

        จุดเด่นของผลงาน
        กระดานเกมบิงโกสำหรับการเรียนการสอนประกอบด้วยตัวแผ่นกระดานเกมบิงโก (1) ทรงสี่เหลี่ยมด้านในตีเส้นเป็นช่องตารางมีลักษณะพิเศษคือในแต่ละช่องตารางเจาะรู (3) เพื่อใส่ตัวหมุด (2) ขนาดรูเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวหมุดซึ่งตัวหมุดนี้มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกมีความหนามากกว่าแผ่นกระดานทำให้โผล่พ้นหน้าแผ่นกระดานเจาะรูที่ด้านริมข้างขวาและซ้ายของแผ่นกระดานเพื่อเก็บตัวหมุดโดยแผ่นกระดานและตัวหมุดทำด้วยแผ่นโฟมยาง Ethylene Vinyl Acetate หรือ EVA Foam Board ชนิดไม่เป็นพิษ (non-toxic) ที่ด้านบนขอบกระดานใส่ชื่อสาขาวิชา (4) ซึ่งจะสอดคล้องกับรูปภาพ (7) และรูปภาพนี้จะเป็นคำตอบของโจทย์คำถามเกมบิงโกที่มุมขวาด้านบนมีตัวเลขแสดงลำดับที่ (5) ของแผ่นกระดานและในซ่องตารางแต่ละช่องแสดงตัวเลขข้อ (6) ของโจทย์คำถาม

           กรณีศึกษาที่ 2 ผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์เกมสื่อคณิตศาสตร์ชนิดหนึ่งชื่อ“ ของเล่น” หรือดอกไม้แห่งสยาม (Flower of Siam)
           ตัวอย่างผลงานที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เกมสื่อคณิตศาสตร์ชนิดหนึ่งมีชื่อว่า“ ของเล่น” หรือเกมดอกไม้แห่งสยาม (Flower of Siam) เกมนี้ช่วยฝึกแก้ปัญหาการย้ายกองดอกไม้ 7 ดอกที่มีขนาดต่างกันที่ซ้อนกันอยู่ที่เสาต้นหนึ่งไปยังเสาอีกต้นหนึ่งโดยต้องจัดให้ดอกไม้ทั้ง 7 ดอกข้อนกันอยู่ในสภาพเดิมสามารถใช้เสาได้ทั้ง 3 ต้นย้ายดอกไม้ได้ครั้งละ 1 ดอกและในการวางซ้อนกันจะต้องให้ดอกเล็กวางซ้อนอยู่บนดอกใหญ่เท่านั้น

จุดเด่นของผลงาน
          การประดิษฐ์นี้มีการพัฒนาต่อยอดจากผลงานชื่อ“ หอคอยฮานอย (Tower of Hanoi)” โดยการสร้างช่องเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกมนี้ทุกชิ้นที่แผ่นฐาน ได้แก่ ดอกไม้ 7 ดอกที่มีขนาดต่างกันและเสาหลัก 3 ต้นจึงเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ซึ่งนอกจากจะช่วยให้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่หล่นหายแล้วผลิตภัณฑ์ยังมีน้ำหนักเบาสะดวกในการเก็บและการเคลื่อนย้ายด้วย

              ทรัพย์สินทางปัญญานั้นเกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างการมีทรัพย์สินทางปัญญาสามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองสังคมและประเทศชาติได้จึงถือได้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานของตนได้ตลอดจนสามารถแปลงทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นเงินทุนเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อีกด้วยทั้งนี้ระยะเวลาในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ อาจมีความแตกต่างกันรวมทั้งอาจมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจดทะเบียนด้วยผู้สร้างผลงานจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้จะได้เลือกจดทะเบียนตามประเภททรัพย์สินทางปัญญาและชำระค่าธรรมเนียมได้อย่างถูกต้องเพื่อให้สามารถขอรับสิทธิที่เกี่ยวข้องทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองได้อย่างถูกต้องในทางกลับกันเมื่อตระหนักรู้ว่าปัญญาหรือความคิดของตนเองเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าแล้วปัญญาหรือความคิดของผู้อื่นก็มีมูลค่าเช่นกันดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นด้วย

2329780.png

ลองทำ

กิจกรรมท้ายบท เรื่อง 

bottom of page