top of page

บทที่ 2  ความรู้และทักษะพื้นฐานเฉพาะด้าน

บทที่ 2 วัสดุและเครื่องมือช่างพื้นฐาน ประกอบด้วยหัวข้อ

2.1 วัสดุในชีวิตประจำวัน
2.2 เครื่องมือช่างพื้นฐาน

2.3 กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. วิเคราะห์สมบัติของวัสดุและเครื่องมือช่างที่ใช้ในการสร้างชิ้นงาน

2. เลือกใช้วัสดุและเครื่องมือช่างในการสร้างชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม

กับลักษณะของงานและคำนึงถึงความปลอดภัย

การนำไปใช้

        ประตูที่เราใช้กันทั่วไป สร้างจากวัสดุหลายประเภทเช่น ไม้ พลาสติด แต่ละส่วนของประตูก็สร้างจากวัสดุที่แตกต่างกัน เช่น บานประตูทำจากไม้ ลูกบิดและสลักเป็นโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากสมบัติของวัสดุที่แตกต่างกันจงทำให้มีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันด้วย การเลือกอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้สร้างหรือประกอบชิ้นส่วนของประตูก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับประเภทวัสดุและการทำงานอย่างปลอดภัย

2.1  วัสดุในชีวิตประจำวัน

        สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ สร้างขึ้นจากวัสดุหลากหลายประเภท วัสดุแต่ละประเภทมีสมบัติและลักษณะที่แตกต่างกัน การเลือกใช้วัสดุให้ถูกต้องและเหมาะสมจึงมีความสำคัญต่อการออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้

ตารางที่ 4.1 การเปรียบเทียบสมบัติและการใช้งานเก้าอี้ที่ผลิตจากวัสดุที่แตกต่างกัน

Image (48).jpg
d8.jpg

       วัสดุที่นำมาทำสิ่งของเครื่องใช้ที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น ไม้ โลหะ พลาสติก ยาง มีสมบัติและการนำไปใช้งานที่แตกต่างกันดังนี้

ไม้ (Wood)

        คือวัสดุธรรมชาติที่ได้มาจากลำต้นของต้นไม้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น ไม้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเพราะมีความแข็งแรง ทนทานไม่นำไฟฟ้า ไม่เป็นสนิม มีรูปร่างคงตัว มีผิวเรียบ มีกลิ่นและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ถ้าได้รับความชื้นเป็นเวลานานอาจบวมผิดรูปหรือผุได้

        ไม้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ไม้ธรรมชาติ หรือไม้จริง (natural wood or solid wood) และไม้ประกอบ (processed wood)

Image (49).jpg
44-1.jpg

ไม้ธรรมชาติ หรือไม้จริง (natural)

        คือไม้ที่ได้จากลำต้นของต้นไม้โดยตรง แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ไม้เนื้อแข็ง และไม้เนื้ออ่อน

ไม้ประกอบ (Processed wood)

        คือไม้ที่ได้จากการนำชิ้นส่วนไม้มาต่อรวมกันด้วยกระบวนการต่าง ๆ ไม้ประกอบมีหลายประเภท เช่น ไม้อัด

original-1538558945498.jpg
Image (50).jpg
metal-trading.jpg

โลหะ (Metals)

        คือวัสดุที่ได้จากการถลุงสินแร่ต่าง ๆ โลหะที่นำมา

ใช้งานส่วนใหญ่ จะผ่านการปรับปรุงสมบัติให้ดีขึ้นก่อนนำมา

ใช้งาน โลหะเป็นวัสดุที่นำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง

เนื่องจากมีสมบัติที่ดี เช่น เป็นตัวนำความร้อนและนำไฟฟ้า

ได้ดี มีความแข็งแรงสูง มีความคงทนถาวร ไม่เสื่อมสลายหรือ

เปลี่ยนแปลงสภาพง่าย เป็นวัสดุทึบแสง สามารถป้องกัน

ไม่ให้แสงผ่าน ทนทานต่อการกัดกร่อน มีความสวยงาม

ผิวของโลหะสามารถขัดให้เป็นเงาวาว สามารถตีเป็นแผ่นบาง

หรือดึงให้เป็นเส้นลวดได้

           โลหะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ โลหะกลุ่มเหล็ก (ferrous metals) และโลหะนอกกลุ่มเหล็ก (non-ferrous metals)

Image (51).jpg

โลหะกลุ่มเหล็ก (ferrous metals)

        คือโลหะที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบหลัก แบ่งออกเป็นเหล็กกล้า (Steel) และเหล็กท่อ (Cast Iron) ซึ่งมีธาตุคาร์บอนผสมอยู่ในปริมาณที่ต่างกันตั้งแต่ 0.1% ไปจนถึง 4% คาร์บอนที่ผสมลงในเหล็กมีผลต่อความแข็งและความเปราะของเหล็ก โดยทั่วไปโลหะกลุ่มเหล็กจะเกิดสนิม และมีสมบัติดูดติดกับแม่เหล็กได้ มีความแข็งแรงสูง สามารถปรับปรุงคุณภาพ และเปลี่ยนแปลงรูปทรงโดยการกลึง เจาะ ไส รีดเป็นแผ่นบางได้ตามที่ต้องการ

โลหะนอกกลุ่มเหล็ก (non-ferrous metals)

        คือโลหะที่ไม่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นโลหะประเภทนี้ไม่เกิดสนิม และไม่ดูดติดกับแม่เหล็ก เช่น อะลูมิเนียม ทองแดง สังกะสี ทองเหลือง

ตาราง 4.3 สมบัติและการใช้งานของโลหะแต่ละประเภท

Image (52).jpg

พลาสติก (Plastics)

        คือวัสดุสังเคราะห์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ปัจจุบันพลาสติกนำมาใช้สร้างสิ่งของเครื่องใช้มากมายและมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน

        พลาสติกแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เทอร์โมพลาสติก (thermoplastics) และเทอร์โมเซตติ้งพลาสติก (thermosetting plastics)

Image (53).jpg

เทอร์โมพลาสติก (thermoplastics)

        พลาสติกประเภทนี้เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเปลี่ยนรูปร่างได้ เมื่อเย็นลงจะแข็งตัว ถ้าให้ความร้อนอีกจะอ่อนตัว ดังนั้นจึงสามารถทำให้กลับเป็นรูปเดิมหรือเปลี่ยนรูปได้ซ้ำไปมาหลายครั้ง โดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ทนต่อแรงดึงได้สูง ตัวอย่าง  เช่น อะคริลิก ไนลอน พอลิไวนีลคลอไรด์ พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีน

pipe520.jpg
plastic-bottles-factorys-01.jpg
Untitled_2_1.gif

เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก (thermosetting plastics)

        พลาสติกประเภทนี้มีความแข็งแรง ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและปฏิกิริยาเคมีได้ดี เมื่อได้รับความร้อนจะไม่อ่อนตัว ไม่สามารถหลอมและนำกลับมาขึ้นรูปใหม่ได้ ถ้าอยู่ในอุณหภูมิสูงจะทำ

d176a4cd-5c1c-4a7a-85fc-55eb08dba4de.jpg
B1B1H64.jpg
_6612_-27.jpg

      2.2 เครื่องมือช่างพื้นฐาน

           เครื่องมือช่างพื้นฐาน เครื่องมือสำหรับการวัด เครื่องมือสำหรับการวัดมีหลายประเภทขึ้นกับลักษณะของงาน

เช่น  ไม้บรรทัดตลับเมตรสายวัดไม้โพรแทรกเตอร์

 

        1. วัดความยาว

            1.1 ไม้บรรทัด

                   การใช้งาน เป็นเครื่องมือสำหรับวัดความยาวของวัตถุในแนวระนาบและช่วยในการขีดเส้นให้ตรงทำจากวัสดุหลายประเภท  เช่น พลาสติกไม้อะลูมิเนียมเหล็กและมีหลายขนาดตั้งแต่ 14 เซนติเมตรจนถึง 100 เซนติเมตรในหนึ่งไม้บรรทัด

                 

                          ข้อควรระวังควรเลือกใช้ไม้บรรทัดให้ตรงกับประเภทของงาน

 1.2 ตลับเมตร

                         การใช้งาน เป็นเครื่องมือใช้สำหรับวัดระยะทางหรือวัตถุที่มีขนาดตั้งแต่ 0-10 เมตรสายวัดทำจากแผ่นเหล็กบางสามารถม้วนเก็บได้ปลายสายมีขอเกี่ยวสำหรับเกี่ยวให้ติดกับวัตถุที่ต้องการวัด

                         
                         ข้อควรระวัง การม้วนสายเข้าเก็บในตลับควรใช้มือจับช่วยผ่อนแรงไม่ให้สายวัดหมุนเข้าตลับเร็วจนเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้

                 2. วัดมุม

                     

                      2.1 ไม้โพรแทรกเตอร์

                             การใช้งาน เป็นเครื่องมือใช้สำหรับวัดมุมมีทั้งแบบครึ่งวงกลมและสี่เหลี่ยมผืนผ้าหน่วยการวัดขนาดของมุมเรียกว่าองศา

                              ข้อควรระวัง ไม่ควรขีดหรือทำเครื่องหมายลงบนไม้โพรแทรกเตอร์เพราะอาจทำให้เส้นหรือตัวเลขลบเลือนได้

              เครื่องมือสำหรับการตัด

             

                         ในการออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการตัดซึ่งมีอยู่

              หลายประเภทด้วยกันขึ้นอยู่กับลักษณะของงานเช่นกรรไกรคัตเตอร์เลื่อยมือคีมตัด

               

             1. กรรไกร

                 

                 การใช้งาน  ใช้สำหรับการตัดวัสดุให้เป็นเส้นตรงเส้นโค้งหรือเส้นหยักกรรไกร

                                    มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน  เช่น ตัดกระดาษตัดผ้า

                                    ตัดเหล็กตัดพลาสติก

                 

                 ข้อควรระวัง ในปฏิบัติงานจำเป็นต้องเลือกใช้กรรไกรให้เหมาะสมกับประเภท

                                      ของวัสดุ  เช่น กรรไกรตัดกระดาษกรรไกรตัดผ้ากรรไกรตัดโลหะ

 

 

 

 

             2. คัตเตอร์

               

                 การใช้งาน  เป็นเครื่องมือสำหรับตัดปอกขูดเหมาะสำหรับตัดกระดาษพลาสติกลูกฟูกไม้บัลซาที่เป็นลักษณะของการตัดตรงขดลับความคมของดินสอ

 

                 ข้อควรระวัง  คัตเตอร์เป็นของมีคมควรใช้งานอย่างระมัดระวังหากวัสดุเป็นแผ่นหนาไม่ควรใช้แรงกดมากเกินไปเพื่อให้วัสดุขาดจากกันในครั้งเดียวควรกรีดหรือตัดซ้ำรอยเดิมหลาย ๆ ครั้งเพื่อความปลอดภัย

              3. เลื่อยมือ

                 

                  เป็นเครื่องมือสำหรับการตัดซึ่งมีหลายประเภทในการปฏิบัติงานจำเป็นต้องเลือกใช้

เลื่อยให้เหมาะสมกับประเภทของวัสดุ  เช่น เลื่อยรอเลื่อยฉลุ

                 

              3.1 เลื่อยฉลุ

                     

                     การใช้งาน  เป็นเครื่องมือสำหรับงานไม้เหมาะสำหรับงานตัดโค้งทำลวดลาย

                                        กับชิ้นงานไม้ที่ไม่หนาและใหญ่มาก

                   

                     ข้อควรระวัง  เมื่อเลิกใช้งานควรถอดใบเลื่อยออกจากโครงเลื่อยฉลุทันที

 

 

                3.2 เลื่อยลันดา

                         

                       การใช้งาน  เหมาะสำหรับตัดไม้ทั่วไปตัวเลื่อยทำจากเหล็กส่วนมือจับทำด้วยไม้หรือพลาสติก

 

                       ข้อควรระวัง  ใบเลื่อยเป็นของมีคมดังนั้นควรใช้งานด้วยความระมัดระวังทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

             4. คีมตัด

  

                 การใช้งาน  ใช้สำหรับงานตัดปอกวัสดุชิ้นเล็กที่ไม่แข็งมากนักเช่นสายไฟเส้นลวด

 

                 ข้อควรระวัง  ไม่ควรใช้คีมตัดโลหะที่มีขนาดใหญ่หรือหรือแข็งเกินไปเมื่อเลิกใช้งานควรทำความสะอาดเก็บเข้าที่และหยอดน้ำมันเสมอ

วัสดุและเครื่องมือสำหรับการติดยึด

 

                          ในการออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการติดยึดซึ่งมีอยู่หลายประเภทด้วยกันขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน  เช่น กาวปืนกาว

 

                   1. กาว

                     

                          กาวมีหลายประเภทเช่นกาวลาเท็กซ์กาวร้อนกาวยางกาวแท่งการใช้งานขึ้นอยู่กับพื้นผิวของวัสดุที่ต้องการให้ติดยึดเข้าด้วยกัน

     

                    1.1 กาวลาเท็กซ์

 

                          การใช้งาน  เหมาะสำหรับยึดติดวัสดุประเภทไม้กระดาษผ้ากาวชนิดนี้แห้งช้าควรทิ้งไว้สักระยะหนึ่งโดยเฉพาะไม้ควรทิ้งไว้ข้ามคืนเมื่อกาวแห้งแล้วจะยึดติดวัสดุได้แน่นมากกาวชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายมากผู้ใช้งานที่เป็นเด็กสามารถใช้งานได้

 

                          ข้อควรระวัง  ใช้งานเสร็จควรปิดฝาเพื่อป้องกันการแห้งของกาว

                    1.2 กาวร้อน

 

                           การใช้งาน  ยึดติดวัสดุต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิดแห้งเร็วมากเหมาะสำหรับวัสดุประเภทยางพลาสติกโลหะเซรามิก

 

                           ข้อควรระวัง  ต้องระวังไม่ให้สัมผัสกับผิวหนังหากถูกสัมผัสให้ล้างออกโดยเร็วด้วยน้ำและไขมันเมื่อใช้งานเสร็จควรปิดฝาเก็บให้มิดชิด

                 1.3 กาวยาง

                       การใช้งาน  ใช้ยึดติดวัสดุต่าง ๆ ได้เกือบทุกประเภทเนื้อกาวมีลักษณะเป็นของเหลวมีทั้งที่เป็นสีเหลืองและสีใสเมื่อทากาวแล้วควรทิ้งไว้อย่างน้อย 1 ชั่วโมงเหมาะสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์หรืองานซ่อมแซมต่าง ๆ

 

                         ข้อควรระวัง  กาวชนิดนี้ละลายน้ำได้จึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องใช้กลางแจ้งหรือที่ต้องสัมผัสกับน้ำ

                1.4 กาวแท่ง

 

                      การใช้งาน  ใช้ยึดติดวัสดุประเภทกระดาษเนื้อกาวมีลักษณะเป็นของแข็งแฉะเนื้อกาวติดเรียบไม่เลอะเทอะไม่ทำให้กระดาษย่น

 

                     ข้อควรระวัง  ใช้งานเสร็จควรปิดฝาเก็บให้เรียบร้อย

             2. ปืนกาว

                 

                  ปืนกาวมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือส่วนที่มีลักษณะคล้ายปืนมีสายไฟต่อสำหรับใช้กับปลั้กไฟทำหน้าที่เป็นตัวให้ความร้อนและส่วนที่สองคือกาวมีลักษณะเป็นแท่งใสหรือขาวขุ่นเมื่อใส่แท่งกาวลงไปในตัวปืนความร้อนจะทำให้แท่งกาวละลายเป็นเนื้อกาวที่มีความเหนียว

 

                    การใช้งาน  ใช้สำหรับงานยึดติดวัสดุประเภทกระดาษไม้ยางพลาสติก

 

                    ข้อควรระวัง  การใช้งานควรระวังไม่ให้สัมผัสกับกาวเนื่องจากมีความร้อน

                                         ค่อนข้างสูง

             3. สกรู

 

                  มีลักษณะคล้ายตะปู แต่มีเกลียวโดยรอบจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าตะปูควงหรือตะปูเกลียวใช้สำหรับยึดวัตถุสองชิ้นเข้าด้วยกันโดยใช้เกลียวเป็นตัวหมุนเจาะเข้าไปในเนื้อวัสดุหรือรูของวัตถุขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุนั้นสกรูมีหลายชนิดในที่นี้จะยกตัวอย่างในการใช้งานทั่วไป 2 ชนิดดังนี้

 

             3.1 สกรูเกลียวปล่อย

 

                   เป็นสกรูที่มีปลายแหลมใช้สำหรับยึดชิ้นงานที่ต้องการแรงยึดตรึงสูงโดยส่วนเกลียวจะแทรกเข้าไปฝังเข้ากับเนื้อวัสดุของชิ้นงานสามารถทนต่อแรงดึงได้ดีหัวสกรูมีหลายแบบเช่นแบบหัวกลมแบบหัวเรียบแบบหัวแฉกแบบหัวผ่า

 

                   การใช้งาน  ใช้สำหรับยึดชิ้นงานไม้เข้าด้วยกันโดยใช้ไขควงช่วยในการขันเกลียวเข้าไปในเนื้อวัสดุโดยตรง

 

                   ข้อควรระวัง  การขันเข้าและคลายออกหลายครั้งอาจทำให้ชิ้นงานเสียหายได้

            3.2 สกรูและนอต

 

                  เป็นสกรูที่มีปลายตัดต้องใช้ร่วมกับนอตที่มีขนาดเกลียวที่เข้ากันได้ใช้หลักการบีบอัดวัตถุ 2 ชิ้นเข้าด้วยกันโดยการขันนอตให้แน่นหัวสกรูมีหลายแบบ  เช่น สกรูหัวแฉกสกรูหัวผ่าสกรูแฉกเรียบ

 

                   การใช้งาน  ใช้ยึดชิ้นงานที่เป็นโลหะเข้าด้วยกันโดยต้องเจาะรูชิ้นงานขนาดพอดีกับสกรูแล้วจึงขันสกรูและนอตสามารถถอดและยึดเพื่อประกอบชิ้นงานใหม่ได้

 

                   ข้อควรระวัง  การขันเข้าสกรูกับนอตต้องวางตำแหน่งให้ตรงกันก่อนขันเพราะอาจทำให้เกลียวชำรุดได้

           4. ไขควง

 

               เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับขันหรือคลายสกรูโดยลักษณะของไขควงนั้นประกอบด้วยด้ามจับลำตัวหรือก้านและปากไขควงโดยสามารถแยกประเภทของไขควงได้ 2 ประเภทคือ

 

                4.1 ไขควงปากแบน

 

                   มีลักษณะปากแบนแบบเส้นตรงคล้ายคมมีดสำหรับใช้ขันหรือคลายสกรูที่หัวสกรูเป็นร่องเส้นเดียว (หัวผ่า)

                   

                   การใช้งาน  ใช้ขันหรือคลายสกรูที่มีลักษณะหัวผ่าสำหรับงานประเภทสลักเกลียวที่ยึดไม้พลาสติกหรือโลหะ

                   ข้อควรระวัง  เลือกขนาดไขควงให้เหมาะสมกับหัวสกรู

              4.2 ไขควงปากแฉก

 

                     มีลักษณะปากเป็นสี่แฉกใช้ขันสกรูที่มีหัวสี่แฉกเวลาบิดจะต้องใช้แรงกดที่ด้ามมากกว่าไขควงปากแบนเพื่อไม่ให้เหลี่ยมของไขควงหลุดออกจากร่อง

 

                     การใช้งาน  ใช้ขันหรือคลายนอตที่มีลักษณะหัวแฉกสำหรับงานประเภทสลักเกลียวที่ยึดไม้พลาสติกหรือโลหะ

 

                     ข้อควรระวัง  เลือกขนาดไขควงให้เหมาะสมกับหัวสกรู

             เครื่องมือสำหรับการเจาะ

 

                          ในการออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานบางอย่างจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการเจาะในที่นี้จะแนะนำเครื่องมือสำหรับเจาะคือที่เจาะกระดาษสว่านมือสว่านไฟฟ้า

 

                   1. ที่เจาะกระดาษ

                     

                        เป็นเครื่องมือใช้สำหรับในการเจาะกระดาษมีหลายขนาดทำมาจากเหล็ก

 

                       การใช้งานใช้  เจาะรูขนาดเล็กเหมาะสำหรับเจาะกระดาษ

 

                       ข้อควรระวัง  ไม่ควรเจาะกระดาษที่หนาจนเกินไป

                   2. สว่านมือ

 

                       เป็นเครื่องมือเจาะรูที่ใช้ร่วมกับดอกสว่านมีเฟืองเป็นเครื่องผ่อนแรงช่วยขับดอกสว่านให้หมุนเจาะรูปลายดอกสว่านจะเป็นตัวเจาะวัสดุและนำเศษวัสดุที่ถูกเจาะออกไปจากรู

 

                       การใช้งานใช้  เจาะรูขนาดเล็กเหมาะสำหรับงานไม้งานโลหะงานพลาสติกที่มีชิ้นงานไม่หนามา

 

                       ข้อควรระวัง  การใส่ดอกสว่านควรจับยึดให้ดีถ้าใส่ดอกสว่านไม่ดีจะหลุดหรือหักได้ง่าย

                  3. สว่านไฟฟ้า

 

                      เป็นเครื่องมือเจาะที่ใช้ร่วมกับดอกสว่านใช้กำลังขับจากมอเตอร์ไฟฟ้าใช้ในการเจาะรูในงานโลหะหรืองานไม้ปัจจุบันสว่านไฟฟ้าเป็นที่นิยมใช้กันมากกว่าสว่านชนิดอื่น ๆ เพราะมีความสะดวกรวดเร็วประหยัดเวลาประสิทธิภาพการทำงานสูง

 

                      การใช้งาน  ใช้เจาะรูเหมาะสำหรับงานไม้งานโลหะงานก่อสร้าง

 

                      ข้อควรระวัง  ไม่ควรใช้ดอกสว่านผิดประเภทเช่น ดอกสว่านเจาะคอนกรีต

                                            ไม่ควรนำไปเจาะเหล็ก

ใบงานที่ 2.1 เรื่องชั้นวางหนังสือ​ของฉัน

           2.3 กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

                  1. กลไก

 

                      กลไก หมายถึง ส่วนของอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งผ่านการเคลื่อนที่ ทำให้มีการเปลี่ยนตำแหน่งจากต้นทางไปยังปลายทางของการเคลื่อนที่ หรือทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทาง ความเร็ว ลักษณะการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังช่วยผ่อนแรงให้ทำงานได้ง่ายขึ้น

มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

                      การทำงานของกลไก นั้นต้องอาศัยอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนเป็นตัวทำให้เกิดการทำงานในลักษณะต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามความต้องการ ในบทเรียนนี้จะขอยกตัวอย่างล้อและเพลา ซึ่งเป็นกลไกอย่างง่ายและสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน

รูป 3.2 ล้อและเพลา
รูป 3.1 การทำงานของกลไก

          2ล้อและเพลา 

 

                เป็นกลไกที่ช่วยผ่อนแรงในการทำงาน ประกอบด้วยวัตถุทรงกระบอก 2 อันที่มีขนาดแตกต่างกันและอยู่ติดกัน โดยวัตถุที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า “ล้อ” และวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าเรียกว่า “เพลา” เมื่อล้อหรือเพลาหมุน จะทำให้อีกส่วนหมุนตาม เรานำหลักการล้อและเพลามาประยุกต์ใช้ใน 2 ลักษณะ คือ

 

                2.1 ออกแรงหมุนล้อ จะทำให้เพลาหมุน ซึ่งช่วยในการผ่อนแรง เช่น ลูกบิดประตู ไขควง ที่เปิดกระป๋อง สว่านมือ

พวงมาลัยรถยนต์

                 2.2 ออกแรงหมุนเพลา จะทำให้ล้อหมุน เช่น พัดลม ล้อรถยนต์ สว่านไฟฟ้า

รูป 3.2 ออกแรงหมุนเพลา

               3. ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

 

                   ไฟฟ้า คือ พลังงานรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือโปรตอน นำมาใช้ประโยชน์โดยทำให้เปลี่ยนเป็นพลังงานรูปแบบอื่นๆ ได้ เช่น แสงสว่าง ความร้อน เสียง การเคลื่อนที่

   

                   อิเล็กทรอนิกส์ คือ การควบคุมการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าเพื่อให้ได้ปริมาณหรือทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าตามที่ต้องการ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์มีหลายชนิด  เช่น หลอด LED

 

                   ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันในการสร้างเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นจะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันอยู่ มีส่วนที่ให้กระแสไฟฟ้าผ่านครบวงจร เรียกว่า “วงจรไฟฟ้า” ซึ่งประกอบด้วย “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” เชื่อมต่อกันภายในวงจรไฟฟ้า เพื่อทำหน้าที่ควบคุมปริมาณ หรือทิศทางของกระแสไฟฟ้า

ตัวอย่างวงจรไฟฟ้า

                วงจรไฟฟ้าที่นักเรียนสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ไฟฉาย ซึ่งประกอบด้วย

           

        1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า คือ ถ่ายไฟฉายหรือแบตเตอรี่ ทำหน้ที่จ่ายไฟฟ้ากระแสตรงให้อุปกรณ์ต่างๆ ภายในไฟฉาย

       

        2. ตัวนำไฟฟ้า คือ สายไฟหรือโลหะที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ในวงจร

         

        3. อุปกรณ์ไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปแบบอื่น เช่น หลอดไฟ

เกร็ดความรู้ :

           ไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามแหล่งกำเนิด ได้แก่ “ไฟฟ้ากระแสตรง” คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ในวงจรไปทางเดียว แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงได้แก่ แบตเตอรี่ โซลาร์เซลล์ ไฟฟ้ากระแสตรงส่วนมากเราจะใช้ในอุปกรณ์พกพา “ไฟฟ้ากระแสสลับ” คือไฟฟ้าที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ในวงจรไปกลับตลอดเวลา แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับได้แก่ ไดนาโม ไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้าที่เราใช้กันตามบ้านเรือน มีขนาดแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน  และนำมาใช้งานให้เกิดแสง  เช่น LED ช่วยให้เกิดเสียง  เช่น

ออดไฟฟ้า และช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง  มอเตอร์ไฟฟ้า  กระแสสลับ

            1. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดแสง

         2. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดเสียง

              3. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่

           ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันอย่างยิ่ง  เพราะจะช่วยอำนวยความสะดวก  และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ได้  ดังนั้นองค์ความรู้เรื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยให้การสร้างสิ่งของเครื่องใช้มีประสิทธิภาพ  และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น

ใบงาน 2.2เรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้กลไกไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

bottom of page