
การออกแบบและเทคโนโลยี ม.ต้น
บทที่ 1 เทคโนโลยีรอบตัว และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
บทที่ 1 เทคโนโลยีรอบตัว และกาiเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยี
เป็นบทเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและประโยชน์ของเทคโนโลยี ในงานอาชีพต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีจากอดีตจนถึงปัจจุบันด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ปัญหาหรือความต้องการเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยหัวข้อเทคโนโลยีประกอบด้วย
1.1 ความหมายของเทคโนโลยี
1.2 ประโยชน์ของเทคโนโลยี
1.3 ตัวอย่างเทคโนโลยีในงานอาชีพ
1.4 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
1.5 การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของ
จุดประสงค์ของบทเรียน
1. อธิบายความหมายของเทคโนโลยี
2. อธิบายประโยชน์ของเทคโนโลยี
3.วิเคราะห์สาเหตุ หรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี


"วัดความรู้กันสักหน่อยดีกว่า"
1.1 ความหมายของเทคโนโลยี
ในชีวิตประจำวัน เราพบกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมากมาย ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ สัตว์ แม่น้ำ ภูเขา
และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ปากกา แก้วน้ำ โทรศัพท์ รถยนต์ เมื่อพิจารณาว่าในวันหนึ่งๆ ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน เราใช้สิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง และแต่ละชนิดเรานำมาใช้เพื่ออะไร จะพบว่าแต่ละคนล้วนเกี่ยวข้องกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งสิ้น เช่น เราตื่นนอนด้วยเสียงนาฬิกาปลุก แปรงฟันโดยใช้แปรงสีฟันและยาสีฟัน อาบน้ำโดยใช้สบู่
รับประทานอาหารเช้าโดยใช้จานชามและช้อนส้อม เดินทางจากบ้านไปโรงเรียนโดยพาหนะ ติดต่อสื่อสารโดยใช้เครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ สื่อสารข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อกลับถึงบ้านก็พักผ่อนด้วยการชมรายการจากโทรทัศน์ และ
เข้านอนโดยใช้ชุดเครื่องนอน เช่น เตียง ที่นอน หมอน ผ้าห่ม เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศเพื่อให้รู้สึกสบาย

จะเห็นว่าชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการทั้งสิ้น เราเรียกสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งในอดีต ปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนี้ว่า เทคโนโลย ี




เทคโนโลยีที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการนั้น นอกจากจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์แล้วยังอาจเป็นวิธีการ เช่น การทำน้ำประปา เป็นวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำดิบต่างๆ ให้มีความใสสะอาด โดยการใส่สารส้มหรือปูนขาวเพื่อช่วยในการตกตะกอนและปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง น้ำที่ได้จะไหลเข้าถังตกตะกอนซึ่งตะกอนจะรวมตัวกันและตกลงสู่ก้นถัง จากนั้นน้ำจะผ่านถังกรองอีกครั้งโดยการกรองด้วยทรายกรองและกรวดกรอง แล้วผ่านไปยังขั้นตอนการใส่คลอรีนในน้ำอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อฆ่าเชื้อโรคก็ได้น้ำประปาที่รอการสูบจ่ายไปยังบ้านเรือนต่อไป
ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่เป็นวิธีการอีกหนึ่งตัวอย่างคือการบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร ซึ่งอาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ ประกอบด้วยบ่อบำบัด 3 บ่อต่อกันแบบอนุกรม น้ำเสียจะเข้ามาที่บ่อแรกโดยสารอินทรีย์ในน้ำที่อยู่ด้านบนจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ประเภทที่ใช้ออกซิเจน จากนั้นน้ำจะผ่านมายังบ่อที่ 2 ซึ่งมีแบคทีเรียและสาหร่าย โดยน้ำจะถูกบำบัดโดยใช้ออกซิเจนจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย จากนั้นน้ำจะผ่านมายังบ่อที่ 3 เรียกว่าบ่อบ่มที่มีความลึกไม่มาก เพื่อให้แสงแดดส่องถึงก้นบ่อ เป็นการฟอกน้ำทิ้งให้มีคุณภาพน้ำดีขึ้นและใช้แสงแดดทำลายเชื้อโรคและจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม สามารถใช้บำบัดน้ำเสียจากชุมชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น โรงงานผลิตอาหาร หรือน้ำเสียจากเกษตรกรรม เช่นน้ำเสียจากการเลี้ยงสุกร
นอกจากสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นชิ้นงานและวิธีการแล้ว เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้สร้างชิ้นงานก็จัดว่าเป็นเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เราต้องการสร้างชิ้นงานจากกระดาษซึ่งต้องใช้กรรไกรในการตัดกระดาษ กรรไกรก็จัดว่าเป็นเทคโนโลยี แต่เมื่อวัสดุที่เราต้องการตัดมีความหนามากขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีความแข็งแรงมากขึ้น เราก็ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถตัดวัสดุเหล่านั้นได้ เช่น คัตเตอร์ เลื่อย เครื่องตัดด้วยเลเซอร์ เครื่องตัดด้วยน้ำแรงดันสูง

ชวนคิด
เทคโนโลยีแต่ละอย่างเกิดจากการแก้ปัญหาและความต้องการที่
แตกต่างกันลองพิจารณาเทคโนโลยีต่อไปนี้ว่าเกิดจากการแก้ปัญหาหรือความต้องการใดบ้าง
1.2 ประโยชน์ของเทคโนโลยี
จากความจำเป็นของมนุษย์ในยุคแรกทำให้เกิดเทคโนโลยีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ จนกระทั่งปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น
ด้านสรุปประโยชน์ของเทคโนโลยีดังนี้
-
ช่วยในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ เช่น การนำสิ่งของกลับมาใช้ซ้ำ หรือแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อช่วยแก้ปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น การนำเทคโนโลยีฝนหลวงมาช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง การใช้กังหันน้ำชัยพัฒนาแก้ปัญหาน้ำเสีย นอกจากนี้เทคโนโลยียังช่วยให้มนุษย์มีสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค
-
ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานของมนุษย์ ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีค่าใช้จ่ายถูกลง เช่น การใช้เครื่องคิดเลข เพื่อช่วยในการคำนวณ การใช้รอกช่วยยกของ การใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก การใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนในการผลิตสินค้า
สื่อเสริมเพิ่มความรู้
นักเรียนสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำสิ่งของเครื่องใช้กลับมาใช้ซ้ำ
และการแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ ได้ที่

เกร็ดน่ารู้
“กังหันน้ำชัยพัฒนา” เกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิใช่พัฒนาร่วมกับกรมชลประทานวิจัยและพัฒนาเครื่องมือบำบัดน้ำเสีย จึงเกิดเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย หรือกังหันน้ำชัยพัฒนา ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
1.3 เทคโนโลยีในงานอาชีพ
เมื่อพิจารณาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาชีพต่างๆจะพบว่าแต่ละอาชีพใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันเช่น เกษตรกรใช้คันไถ จอบ เสียมเพื่อช่วยในการทำงาน คนขับรถโดยสารประจำทางควบคุมรถโดยใช้เกียร์ พวงมาลัยรถ คันเร่ง เบรค คนทำงานในสำนักงานใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร คนทำงานในภาคอุตสาหกรรมใช้เครื่องจักรและระบบอัตโนมัติช่วยในการผลิตสินค้าให้ได้จำนวนมาก ฯลฯ จะเห็นได้ว่าบุคคลในอาชีพต่างๆใช้เทคโนโลยีที่เกิดจากการคิดค้นของมนุษย์ตั้งแต่เทคโนโลยีที่มีลักษณะไม่ซับซ้อนไปจนถึงเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้น
ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีที่เกิดจากการคิดค้นของมนุษย์มากขึ้น ทั้งในด้านอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการซึ่งส่งผลให้การดำเนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทิศทางการพัฒนาประเทศจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเทคโนโลยีที่สำคัญได้แก่ กลุ่มอาหาร เกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ เทคโนโลยีทางการแพทย์ กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ เมคาทรอนิกส์ กลุ่มดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและบริการที่มีมูลค่าสูง ซึ่งทุกกลุ่มรวนใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ช่วยในการทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร เกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่ใกล้ชิดกับคนไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ในอดีตเกษตรกรใช้เคียวเกี่ยวข้าวซึ่งต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากและใช้เวลานาน ต่อมามีการประดิษฐ์รถเกี่ยวข้าวเรียงจากการใช้แรงงานคนเป็นเครื่องจักรสามารถลดจำนวนแรงงานและใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวน้อยลง เกษตรกรจึงหันมาใช้รถเกี่ยวข้าวกันมากขึ้นและได้พัฒนาเป็นรถเกี่ยวนวดข้าวที่สามารถเกี่ยวข้าว นวดข้าวออกมาเป็นเมล็ดข้าวเปลือก และบรรจุข้าวเปลือกลมกระสอบภายในรถเกี่ยวนวดข้าวนั้นเลย


เกษตรกรบางพื้นที่ประสบปัญหาดินเปรี้ยวหรือดินเป็นกรด ทำให้เพราะปลูกพืชผลไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวโดยการขังน้ำไว้ในพื้นที่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัดจนถึงที่สุดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้ ซึ่งเป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีที่เป็นวิธีการ
อาชีพขายน้ำผลไม้ปั่นก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ใช้เทคโนโลยีมากมายโดยคนขายน้ำผลไม้ปั่นจะใช้มีดในการปอกเปลือกผลไม้และหั่นผลไม้เป็นชิ้นเล็กๆ ใช้เครื่องปั่นไฟฟ้าปั่นน้ำผลไม้ให้ละเอียด และใช้แก้วพลาสติกบรรจุน้ำผลไม้

เมื่อเกษตรกรผลิตพืชผลได้มากเกินความต้องการจึงได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการถนอมอาหาร แต่เดิมใช้วิธีการตากแห้ง ซึ่งต้องใช้เวลานานในการตากเนื่องจากความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่สูงมากพอ กระแสลมธรรมชาติเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนั้นอาจมีฝุ่นละออง เชื้อจุลินทรีย์ และแมลงวันตอมเป็นพาหะนำโรค เมื่อฝนตกหรืออากาศเย็นอาจทำให้เกิดเชื้อราทำให้ไม่สามารถควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ นำไปสู่การคิดประดิษฐ์ตู้อบแห้งโดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างตู้อบแห้งแบบต่างๆ เช่น ตู้อบแห้งแบบรับแสงโดยตรง ตู้อบแห้งแบบรับแสงโดยอ้อม ตู้อบแห้งโดยใช้ลมช่วย
เทคโนโลยีเกิดขึ้นจากความพยายามของมนุษย์ที่จะแก้ปัญหาหรือ ความต้องการที่เกิดขึ้น รวมถึงการเพิ่มความสามารถใน
การทำงานหรือกิจกรรมต่างๆจึงทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆมากมายโดยเฉพาะสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
การทำงานหรือการดำเนินชีวิตในปัจจุบันล้วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันเราอาจเป็นผู้ใช้งานเทคโนโลยี เช่น
การสร้างอุปกรณ์เก็บผลไม้ที่อยู่ในที่สูงเพื่อให้เก็บผลได้สะดวกยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันเราอาจเป็นผู้ใช้งานเทคโนโลยีเช่น เราใช้สปริงเกอร์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการรดน้ำสนามหญ้า จะเห็นว่ามนุษย์เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเทคโนโลยีตลอดเวลาเพราะเทคโนโลยีช่วยให้การทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆสะดวกหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีผู้ใช้ต้องศึกษาผลดีและผลเสียของเทคโนโลยีนั้นๆ และพิจารณาผลเสียที่อาจเกิดขึ้นว่าสามารถควบคุมหรือป้องกันได้หรือไม่
หากเทคโนโลยีนั้นคุ้มค่าและมีผลดีมากกว่าผลเสียจึงตัดสินใจนำมาใช้ประโยชน์
การนำไปใช้
ปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความหลากหลายมากขึ้นตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารที่ใช้ในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แทนการส่งไปรษณีย์ การค้นหาเส้นทางโดยใช้สมาร์ทโฟนแทนการใช้แผนที่กระดาษ การเรียกใช้บริการแท็กซี่ผ่านทางแอพพลิเคชั่นแทนการโทรนัดหมาย การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีช่วยให้เราทำงานได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น ความเข้าใจสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลให้เทคโนโลยีเกิดการเปลี่ยนแปลงช่วยเราเข้าใจความเป็นมาของการออกแบบและสร้างเทคโนโลยี เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้และช่วยต่อยอดแนวคิดในการพัฒนาเทคโนโลยีต่อไป


2.1 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
ตั้งแต่สมัยโบราณมนุษย์รู้จักประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้หรือคิดวิธีการเพื่อช่วยแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในการดำรงชีวิต ซึ่งสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการนั้นได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมกับแต่ละยุคสมัย เช่น การเก็บเกี่ยวข้าวในอดีตมนุษย์ใช้เครื่องมือเก็บเกี่ยวอย่างง่าย โดยใช้แรงงานคนจำนวนมาก ต่อมามีการประดิษฐ์เครื่องเกี่ยวข้าว เครื่องสีข้าวทำให้ผลิตข้าวได้มากขึ้น ใช้เวลาน้อยลง วิธีเกษตรกรรมจึงเปลี่ยนแปลงไป เมื่อผลิตข้าวเกินความต้องการมนุษย์จึงคิดแปรรูปข้าวเป็นแป้งและประดิษฐ์เครื่องโม่แป้งขึ้น ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวมากมาย เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้มนุษย์สามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ในอดีตเสื้อผ้าต้องตัดเย็บด้วยมือจึงผลิตได้น้อย ต่อมามีเครื่องจักรเย็บผ้าทำให้ผลิตเสื้อผ้าได้รวดเร็วและเกิดโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผลิตเสื้อผ้าได้จำนวนมาก ส่งผลให้ต้นทุนต่ำและราคาถูกลง เกิดการผลิตเพื่อจำหน่ายไปทั่วโลก วัฒนธรรมการแต่งกายของคนเราจึงเปลี่ยนไปจากเดิม นิยมใช้เสื้อผ้าที่ผลิตจากโรงงานแทนเสื้อผ้าที่ตัดเย็บด้วยมือ
ผลิตภัณฑ์หรือวิธีการที่เราใช้และพบเห็นในปัจจุบัน หากศึกษาย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน เช่น วิธีการใช้งาน ความสะดวกสบายในการใช้งาน วัสดุและวิธีการผลิต ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการทำความสะอาดเสื้อผ้า ดังนี้
1. ในอดีตผู้คนจะนำเสื้อผ้าไปยังแหล่งน้ำใกล้ๆ
วางภาพบนก้อนหินแล้วใช้ไม้ตีผ้าหรือขยี้ผ้าด้วยมือ
เพื่อขจัดคราบสกปรกออกมา ซึ่งต้องใช้แรงงานคน
โดยที่ยังไม่มีการใช้ผงซักฟอกหรือสบู่ช่วยในการขจัด
คราบสกปรก ทำให้เกิดความเมื่อยล้าและต้องนำภาพ
ไปซักที่แหล่งน้ำ


2. ต่อมามีการคิดค้นกระดานซักผ้าโดยเลียนแบบการซักผ้าด้วยมือการซักผ้าจะมีลักษณะเป็นลูกคลื่นเพื่อช่วยผ่อนแรงในการขจัดคราบสกปรกโดยการขยี้ผ้าและรองรับน้ำหนักจากผ้า แม้จะลดเวลาในการซักผ้าลงและช่วยแก้ไขข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่ซักผ้าได้แต่ยังคงต้องใช้แรงงานคนในการซักผ้าเหมือนเดิม




3.จักรยานซักผ้าได้พัฒนาเป็นเครื่องซักผ้าแบบมีก้านโยกซึ่งยังคงใช้หลักการเดียวกันกับการซักผ้าด้วยมือ โดยใส่ผ้าลงไปที่ด้านล่างของกระบะบรรจุน้ำ จากนั้นนำก้อนหินใส่ลงไปในตะแกรงสี่เหลี่ยมแล้วโยกก้านโยกเพื่อให้ก้อนหินทำหน้าที่ขยี้ผ้าและขจัดคราบสกปรกออกจากผ้า ซึ่งยังคงใช้แรงงานคนเป็นหลักแต่ช่วยลดระยะเวลาในการซักผ้าให้น้อยลง
4.จากนั้นเมื่อมีการเพิ่มกลไกให้กับเครื่องซักผ้า ซึ่งกลไกดังกล่าวช่วยในการปั่นผ้าและบีบผ้าให้แห้ง ช่วยเพิ่มความสะดวกในการซักผ้าแต่ยังคงต้องใช้แรงงานคนในการขับเคลื่อนกลไกและตักน้ำใส่เครื่องซักผ้า
5.เมื่อมีการสร้างและพัฒนามอเตอร์ไฟฟ้าจึงทำให้เครื่องซักผ้าเปลี่ยนจากการใช้แรงงานคนในการขับเคลื่อนไปเป็นการใช้มอเตอร์ซึ่งช่วยลดการใช้แรงงานคนและลดระยะเวลาในการทำงานแต่ยังคงต้องใช้แรงงานคนในการควบคุมการทำงาน การตักน้ำใส่เครื่องซักผ้า
การทำให้ผ้าแห้ง
6.ต่อมาได้มีการสร้างท่อปั๊มน้ำเข้าสู่เครื่องซักผ้าและสร้างถังปั่นแห้งซึ่งช่วยลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแต่ยังคงต้องใช้แรงงานคนย้ายผ้าจากถังซักไปยังถังปั่นแห้ง นอกจากนี้เครื่องซักผ้ายังมีขนาดใหญ่แต่จุผ้าได้น้อย
7.เมื่อมีการพัฒนาระบบกลไกให้สามารถทำงานได้ซับซ้อนขึ้นเครื่องซักผ้าจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโดยการรวมถังซักผ้าและถังปั่นแห้งอยู่ภายในตัว
ถังเดียวกัน รวมทั้งมีระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติในเครื่องซักผ้า

8. เครื่องซักผ้าได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเพิ่มความจุของถังซักให้ซักผ้าได้มากขึ้น มีโปรแกรมการซักที่สามารถเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของเนื้อผ้า ส่วนประกอบของเครื่องซักผ้าใช้วัสดุที่เบาและแข็งแรง มีการออกแบบวิธีการใช้งาน รูปทรงและสีสันของเครื่องซักผ้าให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด
จากตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการทำความสะอาดเสื้อผ้าตั้งแต่การซักผ้าด้วยมือไปจนถึงการประดิษฐ์เครื่องซักผ้า จะพบว่ามนุษย์ได้พัฒนาระบบกลไกควบคุมการทำงาน วิธีการใช้งาน รูปทรงความสวยงาม วัสดุและวิธีการผลิต เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ตลอดมา
-
ถ้าในปัจจุบันเราไม่มีเครื่องซักผ้าแต่เรายังคงใช้กระดานซักผ้ากันอยู่
การดำเนินชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร -
เครื่องซักผ้าฝาบนและฝาหน้าทำงานแตกต่างกันอย่างไร
-
ในอนาคตเครื่องซักผ้าจะเป็นอย่างไร
อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการเพาะเห็ด ในอดีตเราเก็บเห็ดที่เจริญเติบโตขึ้นมาเองตามธรรมชาติชื่อเห็ดแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตตามฤดูกาลที่เหมาะสมแตกต่างกันไป แต่เมื่อความต้องการในการบริโภคเห็ดเพิ่มมากขึ้นมนุษย์จึงเริ่มเพาะปลูกเห็ดในโรงเรือน เพื่อให้มีเห็ดไว้บริโภคนอกฤดูกาล โดยจัดสภาวะแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเห็ดแต่ละชนิด และควบคุมดูแลโดยใช้แรงงานคน ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดและไม่แม่นยำในการปรับสภาวะให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเห็ด ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นจึงเกิดฟาร์มเห็ดอัจฉริยะซึ่งมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิและความชื้นในโรงเพาะเห็ด ทำให้ผู้เพาะเห็ดสามารถควบคุมการเปิด-ปิดอุปกรณ์รดน้ำ พัดลม และตรวจสอบความชื้นภายในโรงเพาะผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ซึ่งช่วยลดการใช้แรงงานคนและควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้แม่นยำ อีกทั้งยังสามารถดูแลโรงเพาะเห็ดได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดและตรวจสอบสภาวะในโรงเพาะได้ตลอดเวลา
ปัจจุบันการทำเกษตรมีการต่อยอดไปสู่แนวคิดความอัจฉริยะ (Smart Farm) ที่ใช้เทคโนโลยีหลายด้านเข้ามาช่วยควบคุมดูแลการเกษตร ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้สะดวก ลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งยังสามารถควบคุมและเพิ่มคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรได้อีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการเพาะเห็ด
-
การเก็บเห็ดตามฤดูกาล ต้องอาศัยปัจจัยความอุดมสมบูรณ์ของอาหารและความชื้นที่เหมาะสมที่ทำให้
เห็ดเจริญเติบโต -
โรงเพาะเห็ด จัดสภาวะแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติโดยต้องคอยฉีดน้ำเห็ดเพื่อให้ได้อุณหภูมิและความชื้น
ในช่วงที่เห็ดแต่ละชนิดต้องการ -
ฟาร์มเห็ดอัจฉริยะ นำระบบอิเล็กทรอนิกส์และการเชื่อมโยงผ่านอินเทอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่นบน
สมาร์ทโฟนเข้ามาควบคุมดูแลสภาวะแวดล้อมในโรงเพาะเห็ดให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเห็ด
2.2 การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
การศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการนั้น ทำให้เราเรียนรู้ถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการสามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ หรือเพิ่มความสามารถในการทำงานของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการสะท้อนให้เห็นถึงองค์ความรู้ที่มนุษย์คนพบมากขึ้น และนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อการดำรงชีวิตและสังคมของมนุษย์อย่างชัดเจน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเครื่องมือการเตรียมดินเพื่อทำนา
1. ไถ
ชาวนาใช้ไถหรือเครื่องไถในการพลิกหน้าดินและกลบวัชพืชเพื่อเตรียมดินเพาะปลูกโดยใช้แรงงานสัตว์เช่น วัว ควาย ในการลากไถ ซึ่งใช้เวลานานในการเตรียมดิน และใช้แรงงานคนในการควบคุมและบังคับไถ
2.รถไถนาเดินตาม
ต่อมามนุษย์นำความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์มาประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์รถไถนาเดินตามแทนการใช้แรงงานสัตว์ ช่วยประหยัดแรงและเวลาในการเตรียมดิน ทำงานได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่มีน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ยังคงใช้แรงงานคนในการควบคุมและบังคับไถ
3.รถไถนานั่งขับ
เกิดจากการพัฒนารถไถนาโดยคนนั่งควบคุมบนรถไถนาแทนการเดินตามรถไถ เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น ช่วยให้ไถพรวนดินได้อย่างรวดเร็ว
4.รถไถอเนกประสงค์
เกิดจากความรู้ทางวิศวกรรมในการออกแบบวิจัยและพัฒนาสร้างพาหนะเพื่อช่วยทุ่นแรง ในการเตรียมดินเพาะปลูกตามขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การไถ คราด ยกร่อง พรวนดิน ดันดิน เป็นต้น ซึ่งช่วยประหยัดแรงงานและเวลาในการทำงานมากยิ่งขึ้น
สื่อเสริมเพิ่มความรู้
นักเรียนสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถไถนาได้ที่
http://www.scimath.org/weblink/7760.php
เทคโนโลยีที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุปัจจัย นอกจากสาเหตุหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา การสนองความต้องการของมนุษย์ ความก้าวหน้าของความรู้ในศาสตร์ต่างๆโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์แล้วยังมีสาเหตุหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดจากสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงก็มีส่วนทำให้เทคโนโลยีเกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่น ฐานะทางการเงินของผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ความนิยมแพร่หลายของเทคโนโลยี ส่งผลให้ผู้ผลิตต้องคำนึงถึงต้นทุนและการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสม ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต รวมถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์จึงต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
ในทำนองเดียวกันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปก็ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการของมนุษย์ การดำรงชีวิตในสังคมและเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีหน้าจอระบบสัมผัสส่งผลให้มนุษย์เปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ระบบหน้าจอสัมผัสมากขึ้น เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ กลายเป็นสิ่งจำเป็นและส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อรูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ดังนั้นการสร้างหรือเลือกใช้เทคโนโลยีควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากเทคโนโลยีนั้นๆ โดยเฉพาะผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราจึงควรเลือกใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้อง เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม




ชวนคิด
.jpg)
.jpg)





.png)

ทดสอบความรู้หลังเรียน