top of page

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.ต้น
บทที่ 6 วางแผน สร้างสรรค์ และนำเสนอ
บทที่ 6 วางแผน สร้างสรรค์ และนำเสนอ
6.1 การวางแผนการแก้ปัญหา
6.2 สิ่งที่ควรรู้ก่อนลงมือสร้างชิ้นงาน
6.3การทดสอบประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข
6.4การนำเสนอ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วางแผนการทำงานก่อนลงมือสร้างชิ้นงาน
2. เลือกใช้อุปกรณ์เหมาะสมกับงานและใช้อย่างถูกวิธี
3. ทดสอบประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน
4. นำเสนอผลการทำงานด้วยรูปแบบที่เหมาะสม



การแก้ปัญหาในชีวิตจริงไม่ว่าจะเป็นปัญหาระดับเล็กใกล้ตัวหรือปัญหาระดับใหญ่ที่มีผลกระทบกับสังคมล้วนมีการทดสอบและปรับปรุงแก้ไขหลายครั้งจนกว่าการแก้ปัญหานั้นจะประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ตัวอย่างเช่นการปลูกหญ้าแฝกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของหน้าดินในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9) ที่ใช้เวลาในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนามากกว่า 10 ปีเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของหน้าดินจากการที่น้ำชะล้างแร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในหน้าดินออกไปจนพบว่าหญ้าแฝกเป็นพืชที่ช่วยยึดหน้าดินไม่ให้พังทลายเพราะมีการแตกหน่อรวมเป็นกอเบียดกันแน่นมีรากยาวสานกันแน่นช่วยอุ้มน้ำและยึดดินไว้ได้ดีนอกจากนี้รากหญ้าแฝกยังเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อดินช่วยฟื้นฟูให้ดินมีสภาพอุดมสมบูรณ์ทั้งยังช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม




ในบทเรียนที่ผ่านมานักเรียนได้ศึกษาตัวอย่างการแก้ปัญหาของนนท์และน้ำหวานและฝึกปฏิบัติตั้งแต่การระบุปัญหารวบรวมข้อมูลนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาเปรียบเทียบตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรทางเทคโนโลยีแล้วนำวิธีการนั้นมาออกแบบในรูปแบบที่หลากหลายโดยระบุรายละเอียดที่ชัดเจนทั้งขนาดและวัสดุที่ใช้สำหรับในบทเรียนนี้นักเรียนจะได้วางแผนขั้นตอนการทำงานและดำเนินการแก้ปัญหาทดสอบเพื่อประเมินว่าสามารถทำงานได้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอผลการดำเนินงานทั้งหมดให้ผู้อื่นได้เข้าใจ

หลังจากที่ได้ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาแล้วก่อนดำเนินการแก้ปัญหาหรือลงมือสร้างชิ้นงานตามที่ได้ออกแบบไว้ต้องมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อลดระยะเวลาในการทำงานรวมไปถึงลดความผิดพลาดในการทำงานด้วยการวางแผนจะเริ่มจากการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานที่จะต้องปฏิบัติว่าประกอบด้วยงานย่อยอะไรบ้างจากนั้นเขียนเป็นกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละงานพร้อมกับระบุระยะเวลาและผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่รับผิดชอบในกิจกรรมนั้น ๆ (หากไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้สามารถประมาณการหรือกำหนดเป็นช่วงเวลาของการทำงานได้)
การวางแผนการดำเนินงานสามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นผังงานแสดงลำดับขั้นตอนตารางการปฏิบัติงาน

หลังจากที่กำหนดลำดับขั้นตอนการทำงานแล้วจะนำมาจัดทำเป็นตารางดำเนินการที่ระบุเวลาชัดเจน


เมื่อได้วางแผนการดำเนินการแล้วจากนั้นลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หากเป็นงานที่ต้องลงมือสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวกับเหล็กไม้พลาสติกหรืองานที่เกี่ยวกับสารเคมีต่างๆต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของการใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นสำคัญความปลอดภัยในการปฏิบัติงานจะรวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้องกับลักษณะงานวิธีการใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้องและชุดปฏิบัติงานที่เหมาะสมตัวอย่าง เช่น การทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีผู้ปฏิบัติงานต้องสวมแว่นตาผ้าปิดจมูกและถุงมือยางเพื่อป้องกันสารเคมีสัมผัสกับร่างกายทั้งการสัมผัสสูดดมและป้องกันสารเคมีกระเด็นเข้าตา


ในการเชื่อมเหล็กผู้ปฏิบัติงานจะต้องแต่งกายอย่างมิดชิดด้วยเสื้อผ้าที่หนาใส่ถุงมือและหน้ากากป้องกันแสงที่เกิดจากการเชื่อมเหล็ก
ภาพด้านล่างเป็นเลื่อยชนิดต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับงานไม้ แต่ลักษณะรูปร่างฟันเลื่อยและวัสดุที่ใช้ทำเลื่อยมีความแตกต่างกันเนื่องจากจุดประสงค์ในการใช้งานต่างกันผู้ปฏิบัติงานควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพตรงตามที่ต้องการและต้องศึกษาวิธีการใช้งานให้ถูกต้องด้วย




เมื่อวางแผนการทำงานแล้วต่อไปเป็นการลงมือสร้างชิ้นงานตามแบบโดยเริ่มจากสร้างส่วนที่เป็นแผ่นหน้าสัมผัสของอุปกรณ์บีบอัดขยะโดยวัสดุทำมาจากเหล็กเพื่อให้มีความแข็งแรงและมีน้ำหนักสำหรับบีบอัดขยะให้มีขนาดเล็กลงการประกอบเหล็กเข้าด้วยกันแต่ละส่วนใช้วิธีการเชื่อมเหล็กแต่ละท่อนเข้าด้วยกัน


ถัดไปเป็นการสร้างส่วนที่เป็นที่จับยึดถังขยะโดยใช้เหล็กกลวงดัดให้มีความกว้างและความโค้งเท่ากับขอบของถังขยะจากนั้นยึดเข้ากับก้านโยกด้วยนอตและทำให้จุดเชื่อมต่อระหว่างที่จับยึดถังขยะและก้านโยกสามารถเคลื่อนที่ได้โดยอิ สระเพื่อให้ง่ายต่อการยกก้านโยกขึ้นและลง

เชื่อมปลายอีกด้านหนึ่งของก้านโยกด้วยท่อนเหล็กกลวงสำหรับทำเป็นที่จับ

เชื่อมแผ่นหน้าสัมผัสกับท่อนเหล็กกลวงจำนวน 2 ท่อนปลายอีกด้านหนึ่งของท่อนเหล็กประกอบเข้ากับก้านโยกโดยให้สามารถหมุนได้เพื่อให้กดก้านโยกขึ้นลงได้ขณะบีบอัดขยะ

ได้อุปกรณ์บีบอัดขยะตามที่ออกแบบไว้


ปิดป้ายประกาศและประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายเพื่อให้นักเรียนได้ทราบถึงรายละเอียดของกิจกรรมและวันที่จะเริ่มดำเนินการตามมาตรการนี้
การทำงานเริ่มต้นจากประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับร้านค้าในโรงเรียนว่าจะมีการยกเลิกการใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งโดยร้านค้าจะต้องซื้อแก้วที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ให้ร้านค้ายกเลิกการใช้หลอดพลาสติกและลดราคาน้ำลงแก้วละ 2 บาทถ้านักเรียนนำแก้วมาเอง

สำรวจถังขยะในโรงเรียนก่อนวันเริ่มกิจกรรมโดยบันทึกความสูงของขยะพลาสติกที่มีในถังที่มักจะมีการทิ้งขยะพลาสติกเพื่อนำตัวเลขมาเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินกิจกรรมโดยประเมินว่าปริมาณขยะพลาสติกลดลงไปห รือไม่

เริ่มดำเนินมาตรการตามวันที่กำหนดไว้


การทดสอบเพื่อประเมินว่าชิ้นงานหรือวิธีการจะแก้ปัญหาได้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ควรเริ่มต้นจากการกำหนดประเด็นในการทดสอบก่อนซึ่งประเด็นที่กำหนดต้องชัดเจนสอดคล้องกับปัญหาและการทดสอบต้องเห็นเป็นรูปธรรมสามารถวัดเป็นปริมาณได้เมื่อได้ผลการทดสอบแล้วก็นำมาประเมินหรือเปรียบเทียบว่าสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่หากไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ก็ใช้ผลการทดสอบเป็นข้อมูลในการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ในการทำงานบางอย่างไม่สามารถทดสอบชิ้นงานได้จริงเนื่องจากมีข้อ จำกัด เรื่องงบประมาณเพราะมีการลงทุนที่สูงเช่นการสร้างบ้านการสร้างตึกไม่สามารถทดสอบความแข็งแรงโดยการทุบบ้านหรือตึกได้เพราะมีการลงทุนสูง แต่วิศวกรจะมีการทดสอบความแข็งแรงโดยการจำลองในคอมพิวเตอร์หรือทดสอบโครงสร้างบางอย่างเช่นทดสอบความแข็งแรงของเหล็กที่จะนำมาใช้สร้างบ้านว่าสามารถรับน้ำหนักได้เพียงพอหรือไม่เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้วบ้านจะไม่พังแตกร้าวและเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย
ตัวอย่างการทดสอบความแข็งของเหล็กด้วยวิธีการที่เรียกว่า Rockwell Hardness test เป็นการวัดความลึกของรอยกดโดยใช้แรงกดจากหัวกดที่ทำจากเพชรเนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความแข็งมากหลักการทำงานคือจะกำหนดแรงกดที่ขนาดต่างกันกำหนดเวลาในการกดแล้ววัดความลึกของรอยกดว่าอยู่ที่ระยะใดจากนั้นนำค่ามาคำนวณเป็นความแข็งของเหล็กหากความลึกของรอยกดมากแสดงว่าเหล็กนั้นมีความแข็งน้อยซึ่งปัจจุบันมีการสร้างเครื่องทดสอบความแข็งที่สามารถอ่านค่าความแข็งของเหล็กออกมาเป็นตัวเลขได้ทันที

เมื่อทำการประเมินผลการทดสอบแล้วยังพบปัญหาข้อบกพร่องที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตามที่กำหนดก็จะต้องหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขโดยใช้ผลการทดสอบเป็นข้อมูลโดยอาจกลับไปรวบรวมข้อมูลใหม่หรือออก แบบชิ้นงานหรือเปลี่ยนวัสดุใหม่จากนั้นปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานทำการทดสอบตามประเด็นการทดสอบที่กำหนดแล้วประเมินผลการทำงานอีกครั้งจนชิ้นงานหรือวิธีการที่พัฒนานั้นสามารถแก้ปัญหาได้ตามที่ต้องการ

ขั้นตอนต่อไปเป็นการทดสอบอุปกรณ์บีบอัดขยะที่สร้างขึ้นโดยกำหนดประเด็นในการทดสอบให้มีความสอดคล้องกับกรอบของปัญหาที่ระบุไว้คือต้องการหาวิธีการบีบอัดขยะประเภทขวดพลาสติกแก้วพลาสติกที่ล้นออกมาจากถังขยะในโรงเรียนเพื่อให้มีพื้นที่ว่างในถังมากขึ้นทำให้เพื่อนนักเรียนคนอื่นสามารถทิ้งขยะลงในถังได้มากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงพักกลางวันที่มีการทิ้งขยะมากโดยประเด็นที่ต้องทดสอบประกอบด้วย
1. ระยะบีบอัดที่ทำได้จริงสอดคล้องกับที่ออกแบบไว้หรือไม่ (12 เซนติเมตร)
2. ประสิทธิภาพของอุปกรณ์บีบอัดขยะที่สร้างขึ้น
1) จำนวนขยะที่บีบอัดได้เทียบเท่าจำนวนขยะที่ถัง
2) ความสะดวกสบายของการใช้งาน
3. เงื่อนไขของการทดสอบ
1) ขยะที่ทดสอบแต่ละครั้งมีปริมาณเท่ากันและเป็นขยะประเภทเดียวกันคือแก้วพลาสติกและขวดพลาสติก
2) ในการทดสอบแต่ละครั้งจะใช้ขยะชุดใหม่ที่ยังไม่ผ่านการบีบอัด


ปัญหาที่พบระหว่างการทดสอบ คือแก้วพลาสติกบางส่วนหลุดลอดออกมาทางช่องว่างของแผ่นหน้าสัมผัสปรับปรุงโดยลดช่องว่างของแผ่นหน้าสัมผัสที่ใช้กดขยะด้วยการเพิ่มเหล็กตามแนวขนานหรือแนวขวางกับเหล็กอันเดิม แผ่นหน้าสัมผัสหลังการปรับปรุงแก้ไขแผ่นหน้าสัมผัสก่อนการปรับปรุงแก้ไข

หลังจากการปรับปรุงแก้ไขหน้าสัมผัสแล้ว จึงนำไปทดสอบอีกครั้งโดยผลการทดสอบแสดงดังตารางตอไปนี้


ปัญหาที่พบระหว่างการทดสอบ คือ ขณะใช้งานพบว่าที่จับยึดหลุดจากขอบถังขยะ
การปรับปรุงแก้ไข
จากการประเมินผลการทดสอบอุปกรณ์บีบอัดขยะยังพบประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขคือปัญหาที่พบระหว่างการทดสอบที่ 2 ขณะใช้งานพบว่าที่จับยึดหลุดจากขอบถังเนื่องจากไม่มีที่ยึดเมื่อขยับอุปกรณ์ไปด้านหน้าจึงได้ทำการปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มที่จับยึดขอบด้านบนของถังขยะสองจุด

นำอุปกรณ์บีบอัดขยะที่ได้ปรับปรุงแก้ไขไปทดสอบอีกครั้งพบว่าสามารถบีบอัดขยะได้ดีที่จับยึดไม่หลุดออกจากขอบถังและวัดความสูงของขยะประเภทขวดแก้วน้ำพลาสติกที่อยู่ในถังแล้วเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้แล้วพบว่ามีความสูงลดลงโดยเฉลี่ย 10-12 เซนติเมตรต่อครั้งปริมาณขยะที่บีบอัดได้โดยเฉลี่ยคือ 1.5 ถังและสอบถามผู้ใช้งานแล้วพบว่าสามารถใช้งานได้สะดวกจากนั้นจึงทาสีและเก็บรายละเอียดชิ้นงานให้เรียบร้อย

ต่อไปเป็นการทดสอบผลการออกมาตรการให้ร้านค้าและนักเรียนลดการใช้พลาสติกโดยยกเลิกการใช้แก้วพลาสติกในโรงอาหารดังนี้
สำรวจถังขยะในโรงเรียนโดยบันทึกปริมาณของขยะประเภทพลาสติกทั้งก่อนและหลังการออกมาตรการว่ามีปริมาณขยะลดลงหรือไม่รวมทั้งวัดความสูงของปริมาณขยะในถังเปรียบเทียบกันทั้งก่อนและหลังการออกมาตรการ



สอบถามเพื่อนนักเรียนและแม่ค้าในโรงอาหารเกี่ยวกับการใช้มาตรการ

จากผลการทดสอบการดำเนินงานพบว่าหลังจากการออกมาตรการลดการใช้แก้วและขวดพลาสติกในโรงเรียนไปแล้วปริมาณขยะประเภทแก้วพลาสติกได้ลดลงอย่างต่อเนื่องสังเกตได้จากความสูงของขยะที่อยู่ในถังขยะต่อเนื่อง 4 สัปดาห์และผลจากการสอบถามเพื่อนนักเรียนและแม่ค้าในโรงเรียนพบว่าส่วนใหญ่มีความเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการออกมาตรการว่าเพื่อต้องการลดปริมาณขยะในโรงเรียนและไม่พบความยุ่งยากในการปฏิบัติตามมาตรการ




การนำเสนอการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหามีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ปัญหาทั้งหมดตั้งแต่การกำหนดปัญหารวบรวมข้อมูลออกแบบวิธีการแก้ปัญหาลงมือสร้างชิ้นงานผลการทดสอบแนวทางการปรับปรุงแก้ไขรวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานนอกจากนี้การนำเสนอยังถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะที่จะนำไปใช้ในการพัฒนางานต่อไป
ในการนำเสนอผลการดำเนินงานควรพิจารณาถึงประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. กำหนดหัวข้อและขอบเขตในการนำเสนอให้ชัดเจนว่าต้องการสื่อสารข้อมูลอะไรให้ผู้ฟังโดยเริ่มจากการเขียนเป็นหัวข้อเรียงลำดับสิ่งที่จะพูดก่อนหรือหลังจากนั้นจึงเพิ่มเติมรายละเอียดในแต่ละหัวข้อให้สมบูรณ์
2. กำหนดสื่อและรูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบสื่อประกอบการนำเสนอเช่น
1) เวลาที่ใช้ในการนำเสนอหากเวลามีน้อยควรเลือกใช้วิธีการนำเสนอสั้นกระชับเข้าใจง่าย
2) ผู้ฟังหากเป็นเด็กเล็กอาจเน้นการใช้ภาพหากเป็นผู้ใหญ่อาจนำเสนอโดยใช้กราฟหรือตารางสำหรับรูปแบบในการนำเสนอสามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นโปสเตอร์การบรรยายประกอบสื่อการทำอินโฟกราฟิกในรูปแบบภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว


ตัวอย่างอินโฟกราฟิกแสดงแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
3. นำเสนอด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายลำดับเรื่องราวอย่างเป็นขั้นตอนเน้นประเด็นที่สำคัญของเนื้อหามีการถามตอบเพื่อกระตุ้นความสนใจและเปิดโอกาสให้ผู้ฟังให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในการป รับปรุงพัฒนางานให้ดีขึ้น



การวางแผนก่อนการลงมือปฏิบัติงานโดยระบุขั้นตอนการทำงานและระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนจะช่วยลดข้อผิดพลาดของการทำงานช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรในการทำงานมากขึ้น ในการลงมือปฏิบัติงานควรเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำงานอย่างเหมาะสมกับประเภทของงานและใช้อย่างถูกต้องปลอดภัย
หลังจากลงมือปฏิบัติงานเสร็จแล้วก่อนที่จะทดสอบการทำงานควรกำหนดประเด็นในการทดสอบเพื่อให้การทดสอบมีเป้าหมายชัดเจนซึ่งประเด็นในการทดสอบนั้นต้องสอดคล้องกับปัญหาสามารถวัดเป็นปริมาณได้เมื่อได้ผลการทดสอบแล้วจะนำมาประเมินหรือเปรียบเทียบว่าสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่หากไม่ได้ก็จะใช้ผลการทดสอบเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขจนชิ้นงานหรือวิธีการสามารถทำงานได้ตามจุดประสงค์จากนั้นจึงนำเสนอการดำเนินงานให้ผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ปัญหาตั้งแต่การระบุปัญหาจนถึงการได้ชิ้นงานหรือวิธีการในการแก้ปัญหารวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานพร้อมกับรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้อื่นเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนางานต่อไป

ลองทำ
กิจกรรมท้ายบท เรื่อง นำเสนอการแก้ปัญหา
ให้นักเรียนนำเสนอผลการดำเนินงานจากกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมด โดยกำหนดหัวข้อในการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอ พร้อมทั้งบันทึกคำถามหรือข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้ฟัง (นำเสนอจากกิจกรรมที่ 5.2)
bottom of page