top of page

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.ต้น
บทที่ 7 คาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคต
บทที่ 7 คาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคต
7.1 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยี
7.2 การคาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคต
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เลืกกใช้เทคโนโลยีโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
2. คาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต
เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางด้านบวกและด้านลบต่อชีวิตสังคมและสิ่งแวดล้อมนักเรียนจึงต้องติดตามความก้าวหน้าและรู้ทันเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคตและสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ตัวอย่างเช่นบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกสามารถบรรจุของเหลวได้น้ำหนักเบาขึ้นรูปได้ง่ายจึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นจำนวนมาก แต่บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกย่อยสลายได้ยากขวดน้ำหรือถุงพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายถึง 450 ปีพลาสติกจึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมจึงมีการรณรงค์ให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายแทนการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยังมีข้อเสียที่เกิดจากการใช้งานเช่นไม่สามารถบรรจุของเหลวได้เป็นเวลานานดังนั้นจึงต้องมีการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน





เมื่อศึกษาย้อนไปในอดีตจะพบว่าเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างรูปทรงกลไกการทำงานวิธีการใช้งานวัสดุและวิธีการผลิตเพื่อให้มีความสะดวกสบายในการใช้งานซึ่งสาเหตุที่ทำให้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเกิดจากปัจจัยหลายด้านเช่นปัญหาความต้องการความก้าวหน้าของศาสตร์ต่าง ๆ สภาพเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีอายุยืนยาวขึ้นทำให้มีความต้องการใช้ทรัพยากรมากขึ้นจนเกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นการเลือกใช้หรือการพัฒนาเทคโนโลยีต้องคำนึงถึงผลกระทบทั้งทางด้านบวกและด้านลบต่อชีวิตสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยีการจัดการปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมจากหัวข้อต่อไปนี้


เมื่อมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นจึงมีการนำขยะมูลฝอยไปกำจัดโดยการเทกองรวมกันไว้กลางแจ้งในพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อให้ขยะมูลฝอยเน่าเปื่อยตามธรรมชาติ
• เป็นวิธีที่ง่ายและไม่ยุ่งยากต่อการจัดการขยะมูลฝอยและใช้งบประมาณน้อย
• เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคและเกิดกลิ่นรบกวน
• ใช้พื้นที่มากทำให้บ้านเมืองสกปรกและไม่เป็นระเบียบส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
• เกิดปัญหามลพิษทางน้ำดินอากาศและทัศนียภาพ


ขยะมูลฝอยส่งกลิ่นรบกวนเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคจึงมีการนำขยะมูลฝอยมาฝังกลบในบ่อขยะที่จัดเตรียมไว้โดยมีการออกแบบและก่อสร้างตามหลักวิชาการเช่นการปูพื้นบ่อขยะด้วยพลาสติกกันซึมเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำชะขยะลงสู่แหล่งน้ำหรือปนเปื้อนลงในดินการวางท่อระบายแก๊สที่เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ที่อยู่ในบ่อขยะ
• เป็นระบบที่ง่ายไม่ซับซ้อนค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดูแลระบบไม่สูง • สามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้ทุกประเภทยกเว้นขยะพิษและขยะติดเชื้อ
• แก๊สมีเทนที่เกิดจากการฝังกลบสามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้
• ใช้พื้นที่ฝังกลบมากและพื้นที่ต้องห่างไกลจากชุมชน
• มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งขยะมูลฝอย
• ใช้ดินกลบทับขยะมูลฝอยเป็นจำนวนมาก

ขยะอินทรีย์ (เศษอาหารเศษผักผลไม้ของเหลือจากการเกษตร) เพิ่มมากขึ้นพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการฝังกลบจึงใช้ความรู้เรื่องการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยนำขยะอินทรีย์มาผ่านกระบวนการหมักให้เป็นปุ๋ยเพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน
• สร้างประโยชน์จากขยะอินทรีย์โดยการผลิตปุ๋ย
• มีการคัดแยกขยะอินทรีย์ก่อนเข้ากระบวนการหมักทำปุ๋ย
• พื้นที่ในการทำปุ๋ยหมักต้องห่างไกลจากชุมชนเพื่อป้องกันกลิ่นรบกวน
• มีการดูแลระบบอย่างสม่ำเสมอเช่นการพลิกกลับกองปุ๋ยหมัก

เมื่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการขยะมูลฝอยแบบการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล แต่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีการเผาไหม้มากขึ้นจึงมีการสร้างเตาเผาชุมชนที่มีขนาดเล็กสามารถจัดการขยะมูลฝอยปริมาณไม่มากได้เป็นอย่างดี
• ไม่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยตกค้างในชุมชน
• ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งขยะมูลฝอย
• ใช้พื้นที่ในการจัดการขยะมูลฝอยน้อย
• ก่อนการเผามีการคัดแยกขยะอินทรีย์และขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
• ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศเช่นฝุ่นละอองจากการเผาไหม้ซึ่งเป็นผลเสียต่อระบบหายใจ
• มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดำเนินการดูแลระบบ

ขยะมูลฝอยมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเตาเผาชุมชนไม่สามารถกำจัดได้หมดและเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นจึงมีการนำความรู้ในเรื่องการนำพลังงานความร้อนจากการเผาไหม้ขยะมูลฝอยมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเกิดเป็นแนวคิด“ เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน”
• ใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในการผลิตพลังงานไฟฟ้า
• ใช้พื้นที่น้อยไม่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยตกค้าง
• หากดำเนินการไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศทำให้ระคายเคืองกับระบบหายใจ
• เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้ต้องนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
• ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดำเนินการดูแลระบบสูง

การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ (aerobic decomposition) เป็นกระบวนการที่ใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ให้กลายเป็นปุ๋ยหรือฮิวมัส (humus) ที่มีองค์ประกอบของสารประกอบไนเตรตและสารประกอบซัลเฟตซึ่งต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานของจุลินทรีย์คือมีปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อการใช้ของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายขยะอินทรีย์จะต้องมีสารประกอบไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบและมีน้ำประมาณร้อยละ 40-60 ของน้ำหนักขยะอินทรีย์โดยผลผลิตที่ได้จากการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศคือความร้อนไอน้ำคาร์บอนไดออกไซด์และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้วที่เรียกว่า“ ปุ๋ยหรือฮิวมัส "

ปุ๋ยที่ได้จากกระบวนการหมักจะต้องมีสีดำมีเนื้อละเอียดร่วนซุยกลิ่นคล้ายดินถ้าไม่ได้ตามต้องการจะต้องปรับปรุงกระบวนการหมักใหม่โดยใช้ข้อมูลย้อนกลับที่เกี่ยวกับความชื้นสีกลิ่นและความร่วนซุยของปุ๋ย
การเลือกใช้เทคโนโลยีในการจัดการขยะมูลฝอย
จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยจะพบว่าเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยมีหลายประเภทซึ่งการกำจัดขยะมูลฝอยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นอันดับแรกและในการเลือกใช้เทคโนโลยีใดจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
• ลักษณะของขยะมูลฝอย ถ้าเป็นขยะอินทรีย์สามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักได้ในขณะที่ขยะมูลฝอยทั่วไปสามารถนำไปเผาเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลส่วนขยะที่เป็นโลหะหรือพลาสติกเป็นขยะที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้โดยผ่านกระบวนการผลิตใหม่และถ้าเป็นขยะพิษให้นำไปจัดการตามวิธีการที่เหมาะสมกับขยะประเภทนั้น ๆ
• สถานที่ในการจัดการขยะ ถ้ามีพื้นที่ว่างมากพออาจเลือกวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล แต่ต้องคำนึงด้วยว่ากลิ่นจากบ่อขยะฝังกลบจะรบกวนประชาชนหรือไม่ถ้าไม่มีพื้นที่ว่างอาจเลือกวิธีการเผาโดยใช้เตาเผาในชุมชนหรือเตาเผาเพื่อผลิตพลังงาน
• ค่าใช้จ่ายในการลงทุน ในการจัดการขยะมูลฝอยต้องคำนึงถึงงบประมาณในการก่อสร้างระบบแต่ละประเภทว่าเหมาะสมหรือคุ้มทุนหรือไม่เช่นในชุมชนเมืองที่ดินมีราคาแพงไม่เหมาะสมกับวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลเพราะต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก.

ระบบผลิตกระแสไฟฟ้า
1. รถขนถ่ายขยะทำหน้าที่ขนขยะมูลฝอยจากชุมชุนมาสู่บ่อเก็บขยะ
2. เครนหรือก้ามปูทำหน้าที่ตักและป้อนขยะมูลฝอยเข้าสู่ช่องเตาเผาด้วยแรงโน้มถ่วง
3. หม้อต้มไอน้ำมีอุณหภูมิภายในเตาประมาณ 800-1,000 CC เพื่อเผาไหม้ขยะแล้วได้พลังงานความร้อนออกมานำความร้อนไปต้มน้ำได้ไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูง
4. ไอน้ำที่มีความดันและอุณหภูมิสูง
5. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเปลี่ยนพลังงานกล (ไอน้ำขับเคลื่อนให้กังหันหมุน) เป็นพลังงานไฟฟ้า
6. หม้อแปลงไฟฟ้าแปลงไฟฟ้าจากกระแสสูงและแรงดันต่ำให้เป็นกระแสต่ำแรงดันสูงเพื่อนำเข้าระบบส่งจ่าย (V = IR)
7. เครือข่ายกระแสไฟฟ้าใช้สำหรับการจ่ายไฟฟ้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
ระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ
1. ไอเสียที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้เช่นคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO3) ไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) ออกไซด์ของไนโตรเจน (NO) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) และฝุ่นละออง
2. เครื่องกำจัดออกไซด์ของไนโตรเจนทำงานโดยพ่นแอมโมเนีย (NH3) เพื่อทำปฏิกิริยา (ออกซิเดชัน) กับไอเสียที่มีแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ (NO) และมีตัวเร่งปฏิกิริยาในระบบเกิดเป็นไนโตรเจน (N2) และน้ำ (HO) 4NH3 + 6NO — 5N2 + 6H2O
3. เครื่องตกตะกอนไฟฟ้าสถิตทำหน้าที่กำจัดฝุ่นละอองขนาดเล็กออกจากไอเสียโดยอาศัยแรงทางประจุไฟฟ้าในการแยกฝุ่นออกจากไอเสียซึ่งสามารถดักฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอนได้
4. เครื่องกำจัดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ใช้หินปูน (CaCO3) เป็นตัวดูดซับแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ยิบซัม (CaSO42H2O) ออกมา SO2 + CaCO3 + 2O2 + 2H40-CaSO: 2H 0 + CO2

เป็นการบำบัดน้ำเสียจากชุมชนที่มีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบหลักมีลักษณะใกล้เคียงกับบึงในธรรมชาติหลักการทำงานสารอินทรีย์ส่วนหนึ่งจะตกตะกอนจมตัวลงสู่ก้นบึงและถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ส่วนสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำจะถูกกำจัดโดยจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่กับพืชน้ำหรือชั้นหินโดยได้รับออกซิเจนจากการแทรกซึมของอากาศผ่านผิวน้ำหรือชั้นหินลงมา
• การทำงานไม่ซับซ้อนและไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการบำบัด
• พืชน้ำที่ใช้ในการบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าได้
• การบำบัดน้ำเสียใช้ระยะเวลานานและมีประสิทธิภาพต่ำจึงไม่สามารถรองรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปริมาณมากได้
เมื่อน้ำเสียมีปริมาณสารอินทรีย์มากขึ้นจึงมีการเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสียเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียโดยใช้เครื่องเติมอากาศเช่นกังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องเติมอากาศให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอสำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้รวดเร็วกว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบวิ่งประดิษฐ์
• สามารถบำบัดน้ำเสียจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
• การดำเนินงานและบำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก
• ใช้ไฟฟ้าในการทำงานของระบบบำบัด
• มีค่าซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องเติมอากาศ
การเลือกใช้เทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสีย
จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียข้างต้นจะพบว่าเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธีเช่นระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์บ่อเติมอากาศตะกอนเร่งโคแอกกูเลชันและการแลกเปลี่ยนประจุดังนั้นในการเลือกใช้เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียจะต้องพิจารณาลักษณะน้ำเสียเบื้องต้นก่อนว่าเป็นน้ำเสียประเภทใดเช่นน้ำเสียจากชุมชนเกษตรกรรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งน้ำเสียแต่ละแหล่งมีลักษณะแตกต่างกันส่งผลให้ต้องใช้เทคโนโลยีการบำบัดที่แตกต่างกันด้วยและต้องพิจารณาปริมาณน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบต่อวันงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างงบประมาณในการดูแลรักษาพื้นที่ที่อยู่ข้างเคียงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสร้างและใช้ระบบนั้น ๆ


ฝุ่นละอองที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศต้องมีการควบคุมหรือแก้ปัญหาจึงมีการนำความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงมาใช้แยกอนุภาคของฝุ่นละอองออกจากอากาศนั่นคืออากาศเสียจะถูกดูดผ่านท่อที่มีพื้นที่ขนาดเล็กเข้ามาสู่ห้องที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ทำให้อนุภาคฝุ่นมีความเร็วลดลงและตกลงสู่ด้านล่างเครื่องและอากาศที่ไม่มีฝุ่นจะไหลผ่านท่อเพื่อปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม
• อุปกรณ์ออกแบบง่ายควบคุมดูแลและบำรุงรักษาง่าย
• แยกอนุภาคขนาดใหญ่ 40-60 ไมครอน
• มีประสิทธิภาพต่ำ (20-60%) จึงมักใช้ในการบำบัดขั้นต้นเพื่อการกำจัดฝุ่นละอองขนาดใหญ่
• มีขนาดใหญ่ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ในการก่อสร้าง
• ไม่เหมาะกับโรงงานที่ฝุ่นมีความชื้นสูงหรือฝุ่นเปียก
เครื่องแยกโดยการตกเนื่องจากน้ำหนักไม่สามารถควบคุมฝุ่นขนาดเล็กกว่ากว่า 40-60 ไมครอนได้จึงมีการนำความรู้เรื่องแรงหนีศูนย์กลางแรงเหวี่ยงมาพัฒนาโดยแรงหนีศูนย์กลางที่เกิดขึ้นจะบังคับให้ฝุ่นละอองเคลื่อนที่แนบติดกับผนังไซโคลนและเกิดการหมุนลงไปยังส่วนปลายไซโคลนที่เรียวเล็กลงไปเรื่อยและบังคับให้ฝุ่นละอองออกจากตัวไซโคลนที่ด้านล่าง
• แยกอนุภาคฝุ่นละอองขนาดมากกว่า 10 ไมครอน
• ค่าติดตั้งและดำเนินการไม่สูง
• สามารถใช้ได้กับอากาศเสียที่มีอุณหภูมิสูง
• ไม่เหมาะกับโรงงานที่ฝุ่นมีความชื้นสูงหรือฝุ่นเปียก
• เกิดการสึกหรอของตัวเครื่องอย่างรวดเร็ว

การเลือกใช้เทคโนโลยีในการควบคุมมลพิษทางอากาศ
อากาศเสียที่ระบายออกจากโรงงานหรือแหล่งกำเนิดต่าง ๆ มีผลกระทบต่อมนุษย์สังคมและสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องมีระบบบำบัดหรือควบคุมมลพิษทางอากาศที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดของมลพิษการเลือกใช้เทคโนโลยีควบคุมมลพิษทางอากาศจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพื้นฐานและการทำงานของเทคโนโลยีควบคุมมลพิษและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเลือกใช้เทคโนโลยีเนื่องจากเทคโนโลยีแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันและจะต้องคำนึงถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นต่อมนุษย์สังคมและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้เทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศเช่นชนิดและปริมาณของมลพิษทางอากาศที่ต้องการควบคุมลักษณะการเกิดของแหล่งกำเนิดอากาศเสียช่วงเวลาการทำงานและค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการก่อสร้างระบบเพื่อให้สามารถกำหนดความต้องการของเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมตัวอย่างเช่นในอุตสาหกรรมโลหะปูนซีเมนต์ผลิตไฟฟ้ากระบวนการผลิตมีการปล่อยฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอนจึงมีการเลือกใช้เครื่องตกตะกอนไฟฟ้าสถิตในการบำบัดซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในขณะที่อุตสาหกรรมเคมีอาหารยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการผลิตมีการปล่อยแก๊สเสียไอกรดไอสารเคมีจึงมีการเลือกใช้เครื่องพ่นจับแบบเปียกเพื่อดักจับฝุ่นละอองหรือสารปนเปื้อนที่มากับอากาศโดยจะถูกดักจับด้วยน้ำทำให้ไม่สามารถหลุดออกไปสู่ภายนอกได้ทั้งนี้ในการบำบัดฝุ่นละอองอาจประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลาย ๆ แบบให้ทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละออง
การคาดการณ์เป็นการคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าโดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หรือใช้ข้อมูลความรู้ที่เป็นหลักการกฎหรือทฤษฎีมาช่วยในการคาดคะเน
การคาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคตจะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลหรือความรู้ที่มีความเป็นไปได้และต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์และสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมโดยนำปัจจัยหรือสาเหตุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมาคาดการณ์แล้วพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมหรือสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อช่วยตอบสนองความต้องการของมนุษย์และเป็นข้อมูลในการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์
การขยายตัวของเมืองและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปีและเกิดผลกระทบด้านลบตามมามากมายทำให้ต้องมีการคาดการณ์และการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงมีการทำวิจัยสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาความรู้ในหลากหลายด้านเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากขยะมูลฝอย
ตัวอย่างของการคาดการณ์เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยจากปัจจัยหรือสาเหตุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดังตาราง 4.1



จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านมาจะพบว่ามีเทคโนโลยีหลากหลายประเภทแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นการคาดการณ์เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียในอนาคตสามารถพิจารณาได้จากปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นได้เช่นเดียวกันดังตัวอย่างในตาราง 4.2

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศจะพบว่าการพัฒนาเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นเครื่องแยกโดยการตกเนื่องจากน้ำหนักแรงเหวี่ยงถุงกรองพ่นจับแบบเปียกหรือตกตะกอนไฟฟ้าสถิตถูกสร้างและพัฒนาขึ้นเพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากมนุษย์ทั้งสิ้น แต่เทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศยังมีข้อ จำกัด ดังนั้นจึงมีการนำความรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางมนุษย์และสังคมเศรษฐกิจหรือสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาเทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศในอนาคตให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด การคาดการณ์เทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศ การคาดการณ์เทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศดังตัวอย่างในตาราง 4.3


จากตัวอย่างการคาดการณ์ของเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียและเทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศข้างต้นพบว่าต้องนำความรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์และสังคมเศรษฐกิจหรือสิ่งแวดล้อมมาใช้ประกอบเป็นข้อมูลในการคาดการณ์เทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาและสร้างขึ้นในอนาคตได้นักเรียนลองดูตัวอย่างของนนท์และน้ำหวานว่าจะคาดการณ์เทคโนโลยีที่ตนเองพัฒนาหรือสร้างขึ้นได้อย่างไรบ้าง



นนท์ ได้แก้ปัญหาขยะในโรงเรียนโดยการสร้างอุปกรณ์บีบอัดขยะต่อมานนท์ต้องการพัฒนาอุปกรณ์บีบอัดขยะของตนให้ดีขึ้นจึงได้คาดการณ์ว่าในอนาคตนนท์จะพัฒนาอุปกรณ์บีบอัดขยะให้ดีขึ้นได้อย่างไรดังตาราง 4.4

น้ำหวาน ได้แก้ปัญหาขยะในโรงเรียนโดยการเสนอวิธีการลดปริมาณขยะต่อมาน้ำหวานต้องการพัฒนาวิธีการจัดการขยะน้ำหวานได้คาดการณ์เทคโนโลยีในการลดปริมาณขยะในอนาคตดังตาราง 4.5

จากตัวอย่างข้างต้นนนท์และน้ำหวานได้คาดการณ์เทคโนโลยีของตนเองในการสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในโรงเรียนโดยนำความรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางมนุษย์และสังคมเศรษฐกิจหรือสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการคาดการณ์ดังนั้นนักเรียนลองมาคาดการณ์เทคโนโลยีของตนเองที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นตั้งแต่บทที่ 1-3 ในกิจกรรมท้ายบทเรื่องคาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคต
การคาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคตจะต้องคาดการณ์บนฐานความรู้ที่น่าเชื่อถือและ
ความเป็นไปได้ตลอดจนคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของปัญหาและความต้องการของมนุษย์และสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเนื่องจากมนุษย์ต้องการใช้เทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มความสามารถในการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมีสาเหตุหรือปัจจัยหลายอย่างเช่นการประยุกต์ใช้ความรู้และความก้าวหน้าจากศาสตร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สภาพเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
เพราะฉะนั้นการรู้เท่าทันการเข้าใจถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและผลกระทบ
ด้านบวกและผลกระทบด้านลบจากการใช้เทคโนโลยีจะช่วยทำให้เราสามารถเลือกใช้เทคโนโลยี
ได้ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย

ลองทำ
กิจกรรมท้ายบท เรื่อง คาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคต
จากการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา ในบทที่ 1-3 นั้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างชิ้นงานหรือวิธีการ ถ้านักเรียน มีความรู้มากขึ้น ประกอบกับปัญหาความต้องการของมนุษย์และสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงไป หรือ มีเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถช่วยสนับสนุนการทํางาน นักเรียนคาดการณ์ว่าเทคโนโลยีของนักเรียนจะเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิมอย่างไร โดยวิเคราะห์ปัจจัยในด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
bottom of page