
การออกแบบและเทคโนโลยี ม.ต้น
บทที่ 4 มาแก้ปัญหากันเถอะ
บทที่ 4 มาแก้ปัญหากันเถอะ ประกอบด้วยหัวข้อ
4.1 การวิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหา
4.2 การสร้างทางเลือกในการออกแบบ
4.3 การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา
4.4 การสร้างแบบจําลอง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และสรุปกรอบปัญหา
2. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการแก้ปัญหา

การนำไปใช้
ปัญหารถติดเป็นหนึ่งปัญหาใหญ่ในชุมชนเมืองที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งด้านมลพิษทางอากาศที่เกิดจากเขม่าควัน มลพิษทางเสียงของรถยนต์ที่วิ่งตามท้องถนน ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้นสุขภาพของคนในชุมชนก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ในการที่จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ต้องมีการวิเคราะห์ก่อนว่าสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาคืออะไรเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นและเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

หลายปีที่ผ่านมาจำนวนประชากรในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น มีการขยายตัวของชุมชนจากชนบทสู่ชุมชนเมือง การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ส่งผลให้ทรัพยากรอากาศหมดไป อีกครั้งเกิดความเสียหายจากการใช้งานและเกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมตามมา ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้เกิดจากฝีมือมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ปัญหามลพิษจากการระเบิดของภูเขาไฟ จากไฟป่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ดังนั้นมนุษย์จึงต้องสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมนุษย์
จากสาเหตุการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของชุมชนเมือง ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมามากมาย เช่น การทิ้งขยะ และปล่อยน้ำเสียจากโรงงานและบ้านเรือนลงสู่แม่น้ำลำคลอง ทำให้น้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของเชื้อโรคและปัญหาทางสุขภาพ
คนที่เกิดจากการใช้รถยนต์และจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลกับระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดฝนกรด นอกจากนี้ยังส่งผลต่อดินและแหล่งน้ำต่างๆ ที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีอีกด้วย


ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากธรรมชาติ
นอกจากมนุษย์แล้ว ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีสาเหตุมาจากธรรมชาติเอง เช่น การเกิดน้ำท่วม ไฟป่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด
การเกิดไฟป่าบางครั้งเป็นผลมาจากวาตภัย เนื่องจากลมที่พัดแรงจนทำให้ต้นไม้เอนไปมาเกิดการเสียดสีกันเกิดเป็นไฟป่าขึ้น ซึ่งไฟป่าส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง และแก๊สพิษจากการเผาไหม้ นอกจากนี้ยังเป็นอันตรายต่อระบบหายใจของมนุษย์


การเกิดน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินของมนุษย์ นอกจากนี้ยังทำให้พืชผลทางการเกษตรเกิดความเสียหาย และยังเป็นที่มาของโรคภัยต่างๆ เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคไข้เลือดออก อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค


การเกิดแผ่นดินไหวที่เป็นสาเหตุมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก หากมีระดับความรุนแรงมากจะทำให้บ้านเรือน อาคาร รื้อสิ่งก่อสร้างพังทลายจนได้รับความเสียหาย ทำให้มนุษย์ไร้ที่อยู่อาศัย ขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการพังทลายของหน้าดิน และส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพืชและสัตว์เปลี่ยนไป


ภูเขาไฟระเบิด เกิดจากแรงดันของความร้อนที่สะสมอยู่ใต้เปลือกโลก ดันออกมาสู่ผิวของเปลือกโลกจนเกิดการระเบิด ไอระเหยหรือควันที่เกิดจากภูเขาไฟมีกำมะถัน และฝุ่นละอองปนอยู่มาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต หากเกิดการระเบิดของภูเขาไฟใต้น้ำจะก่อให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ในมหาสมุทรที่เรียกว่า “สึนามิ”


จากปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆที่กล่าวมา หลายประเทศทั่วโลกได้พยายามหาทางลดหรือแก้ไขปัญหา เช่น การก่อตั้งองค์กรกรีนพีซ เพื่อรณรงค์และเฝ้าควบคุมติดตามไม่ให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนให้ผู้ผลิตใช้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อควบคุมการปล่อยแก๊สเรือนกระจกให้น้อยที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะโลกร้อน รวมทั้งคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย
4.1 เทคโนโลยีในการจัดการสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันมีการคิดค้นเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การบำบัดน้ำเสีย การบำบัดมลพิษทางอากาศ การจัดการขยะมูลฝอย
เทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสีย
โรงงานผลิตสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่ ส่วนใหญ่จะปล่อยโลหะจำพวกตะกั่ว สารหนู แคดเมียม โครเมียมที่เกิดจากกระบวนการผลิตออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์เมื่อสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย เช่น มะเร็งเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการทางระบบประสาท และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะสัตว์น้ำที่ได้รับสารพิษที่ปนเปื้อนมากับน้ำด้วย จึงได้มีการคิดค้นวิธีการจำกัดโลหะเหล่านี้ภายในโรงงาน
หุ่นยนต์ขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ หรือไมโครบอท เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้ในการดูดซับตะกั่วออกจากน้ำในการบำบัดน้ำเสียในโรงงาน โดยชั้นนอกสุดของหุ่นยนต์เป็นแกรฟีน ที่ทำหน้าที่ดูดซับตะกั่วออกจากน้ำ นอกจากนี้หุ่นยนต์ตัวนี้ยังสามารถเคลื่อนที่ได้เอง โดยเมื่อเติมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ลงในน้ำเสีย ทองคำขาวที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของหุ่นยนต์จะย่อยสลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และใส่ซองขนาดเล็กออกมาทางด้านหลัง สามารถดันหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามทิศทางที่ควบคุมโดยสนามแม่เหล็ก

.png)
สื่อเสริมเพิ่มความรู้
นักเรียนสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ใช้ในการดูดซับโลหะออกจาก
น้ำเสียในโรงงานได้ที่ http://ipst.me/9123
เทคโนโลยีในการบำบัดมลพิษทางอากาศ
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการควบคุมสารปนเปื้อนจากแหล่งกำเนิดก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ เพื่อลดปริมาณสารปนเปื้อนในบรรยากาศให้อยู่ในปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ยกตัวอย่างเช่น ไซโคลน เป็นเครื่องแยกอนุภาคสารปนเปื้อนออกจากกระแสอากาศ หรือกล่าวง่ายๆคือ เป็นเครื่องดักจับฝุ่นที่มีขนาดเล็กประมาณ 10 ถึง 40 ไมครอน ออกจากอากาศทำให้ช่วยลดฝุ่นละอองในอากาศโดยใช้แรงหนีศูนย์กลางหรือแรงเหวี่ยง ซึ่งเกิดจากการทำให้กระแสอากาศมีการหมุน อนุภาคถูกลำเลียงไปยังผนังของไซโคลนและเคลื่อนที่ลงถังพัก วิธีนี้มักใช้ในโรงงานที่มีฝุ่นจากกระบวนการผลิตมาก เช่น โรงเลื่อยไม้ โรงงานผสมอาหารสัตว์ ขี้เถ้าแกลบ และฝุ่นละอองจากการขัดโลหะ

.png)
สื่อเสริมเพิ่มความรู้
นักเรียนสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไซโคลนสำหรับบำบัดอากาศได้ที่
เทคโนโลยีในการกำจัดขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมีหลายประเภท ทั้งเศษอาหาร เศษพืชที่เหลือจากการทำเกษตรกรรม รวมทั้งขยะที่เกิดขึ้นตามชุมชน ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติก กระดาษ แก้ว ภาชนะบรรจุสารเคมีต่างๆ เป็นต้น เพลงง่ายต่อการจัดการขยะมูลฝอยแต่ละประเภทด้วยเทคโนโลยีที่ต่างกัน กรมควบคุมมลพิษเรื่องกำหนดวิธีการจำแนกขยะ และการจัดการขยะในแต่ละประเภทดังนี้

ลองทำ
กิจกรรมที่ 4.1 สำรวจสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสำรวจปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
ในโรงเรียนหรือชุมชน จากนั้นเขียนแผนที่ความคิด
เพื่อแสดงปัญหาที่พบจากการสำรวจให้ได้มากที่สุด
4.2 การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา
การระบุปัญหาที่ชัดเจนเป็นพื้นฐานในการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงซึ่งจะช่วยให้แก้ปัญหาได้ตรงจุด สามารถรวบรวมรายละเอียดของปัญหาได้ตรงประเด็น โดยเทคนิคหนึ่งที่นักเรียนสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและช่วยให้ได้ข้อมูลที่นำไปสู่การกำหนดกรอบของปัญหาคือ การใช้คำถาม 5W1H ซึ่งมีรายละเอียดแสดงดังนี้
What (อะไร) >> เกิดปัญหาอะไร
Who (ใคร) >> ปัญหานี้เกิดกับใคร หรือใครเป็นผู้ที่ทำให้เกิดปัญหานี้
Why (ทำไม) >> ทำไมจึงเกิดปัญหานี้
When (เมื่อไหร่) >> ปัญหานี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่
Where ( ที่ไหน) >> ปัญหานี้เกิดขึ้นที่ไหน
How ( อย่างไร) >> จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมีมากมายหลายปัญหาเช่น ปัญหาขยะที่มีผู้ทิ้งเป็นจำนวนมากจนล้นถัง ปัญหาน้ำเสียจากโรงอาหาร ปัญหาเศษอาหารในโรงอาหารมีกลิ่นเหม็น สรุปปัญหาต่างๆเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของคนในโรงเรียนทั้งสิ้น หากพิจารณาถึงปัญหาต่างๆเหล่านี้แล้วจะพบว่าปัญหาขยะ เป็นปัญหาที่โรงเรียนส่วนใหญ่พบเจอกันอยู่เป็นประจำ ดังนั้นในตัวอย่างต่อไปนี้จะนำเสนอการแก้ปัญหาเกี่ยวกับขยะด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
แม้ว่าในโรงเรียนจะมีการรณรงค์ให้มีการแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง โดยทางโรงเรียนได้จัดเตรียมถังขยะแยกประเภทไว้แล้วแต่ก็ยังคงมีปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เช่น ขยะมีมากจนล้นออกจากถัง
ปัญหาขยะในโรงเรียน
1. ขยะล้นถัง สาเหตุมาจากคนทิ้งขยะมีมาก ถังขยะไม่เพียงพอ ไม่มีเจ้าหน้าที่นำขยะไปทิ้งหรือเว้นช่วงระยะเวลานาน
2. ขยะส่งกลิ่นเหม็น สาเหตุมาจากมีขยะเปียกอยู่ในถัง
3. แมลงวันตอมถังขยะ สาเหตุมาจากขยะเปียกส่งกลิ่นให้แมลงวันมาตอม

เกร็ด
น่ารู้
แก๊สไข่เน่า หรือแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ เกิดจากการหมักหมมของ
สารอินทรีย์ เช่น ขยะ น้ำเสีย ซากพืชซากสัตว์ หากมีปริมาณ 100 ppm
เมื่อสูดดมเข้าไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน 30 นาทีจะทำให้เสียชีวิตได้
หรือถ้ามีความเข้มข้น 1000 ppm สูดดมเข้าไปเพียง 2-3 วินาทีก็จะ
เสียชีวิตได้ทันที เนื่องจากแก๊สตัวนี้จะขัดขวางไม่ให้ออกซิเจนเข้าสู่สมอง
ทำให้สมองขาดอากาศจนหมดสติและเสียชีวิตได้
เมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาแล้วพบว่า ขยะล้นถังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ขยะมีกลิ่นเหม็น ขยะมีแมลงวันตอม จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาขยะล้นถังก่อนเป็นลำดับแรก
นำหลัก 5W1H มาใช้ในการกำหนดกรอบของปัญหาจะช่วยให้เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาได้ชัดเจน และสามารถออกแบบวิธีแก้ปัญหาให้เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้น รายละเอียดของการระบุปัญหาดังต่อไปนี้
What (อะไร) ขยะมีปริมาณมากจนล้นออกจากถัง
Who (ใคร) ทุกคนในโรงเรียนที่ทิ้งขยะหรือมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดขยะ
Why (ทำไม) ขยะมีปริมาณมากเกินไป ถังขยะมีขนาดเล็กเกินไป ขยะมีปริมาตรทำให้มีพื้นที่ว่างในถังขยะ
When (เมื่อไหร่) การทิ้งขยะเกิดขึ้นทุกช่วงเวลา แต่จะมีปริมาณมากที่สุดคือช่วงพักกลางวัน
Where ( ที่ไหน) ที่ตั้งถังขยะบริเวณลานที่นั่งพักผ่อนใกล้โรงอาหาร
How ( อย่างไร) หาวิธีการลดปริมาตรของขยะเพื่อเพิ่มพื้นที่ของถังขยะ หาวิธีลดปริมาณขยะ
ตัวอย่างที่ 1 ระบุสาเหตุของปัญหาขยะที่มีมากจนล้นออกจากถัง เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างขยะที่อยู่ในถังรวมทั้งขยะบางชนิดที่มีพื้นที่ว่างข้างใน เช่น ขวดหรือแก้วพลาสติกเปล่า นักเรียนจึงสนใจหาวิธีการบีบอัดขยะโดยการลดปริมาตรของขวดหรือแก้วพลาสติก เช่นทำให้แบนก่อนทิ้ง เพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างในถังขยะ

ตัวอย่างที่ 2 ระบุสาเหตุของปัญหาที่มีมากจนล้นออกจากถังคือ มีการใช้ภาชนะประเภทพลาสติกมากเกินไป นักเรียนจงสนใจหาวิธีการที่จะลดปริมาณการใช้พลาสติก เช่นการรณรงค์ให้รถแก้วพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งด้วยแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ การออกมาตรการให้ร้านค้าและนักเรีย นลดการใช้พลาสติก

กิจกรรมที่ 4.2 กำหนดกรอบของปัญหา
จากการสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนหรือชุมชนในกิจกรรมที่ 4.1
ให้นักเรียนตัดสินใจเลือกปัญหาที่สำรวจ 1 ปัญหา พร้อมให้เหตุผลในการตัดสินใจ
จากนั้นให้วิเคราะห์ปัญหาที่เลือกโดยใช้ 5W1H แล้วเขียนกรอบของปัญหา
4.3 การรวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา
เมื่อได้กรอบของปัญหาที่ต้องการจะแก้ไขแล้ว จากนั้นก็ต้องทำการรวบรวมข้อมูลหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาให้เหมาะสมที่สุด ก็รวบรวมข้อมูลต้องมีการกำหนดประเด็นในการรวบรวมข้อมูลก่อนว่าต้องการจะสืบค้นเรื่องใดบ้าง เพื่อประหยัดเวลาแล้วช่วยให้การสืบค้นข้อมูลง่ายยิ่งขึ้น
ตัวอย่างประเด็นการรวบรวมข้อมูลจากสถานการณ์ปัญหาขยะล้นถังในโรงเรียน
นักเรียนต้องการลดปริมาณขยะ จะต้องสืบค้นข้อมูลอะไรบ้าง
สาเหตุที่ทำให้ขยะล้นถัง
สำรวจประเภทขยะ
ศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะของนักเรียน
สืบค้นวิธีการลดปริมาณขยะแต่ละประเภท
การรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี เช่น สืบค้นจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือในอินเทอร์เน็ต สำรวจจากสถานที่จริง การทดลองทางวิทยาศาสตร์ สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ สืบค้นจากเอกสาร บทความ งานวิจัย เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาต่อยอด หรือประยุกต์ให้สามารถแก้ปัญหาตามที่กำหนดไว้ได้
การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการ และประหยัดเวลา จะต้องระบุคำสำคัญให้ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น ต้องการสืบค้นวิธีการลดปริมาณขยะ

สืบค้นหาโดยใช้ keyword คำว่า “ขยะ”
ผลลัพธ์ของข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นโดยใช้คำสำคัญคือ “ขยะ”
พบว่ายังไม่สามารถพบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะได้
ตามที่ต้องการ เนื่องจากคำที่ใช้ในการสืบค้นเป็นคำที่มีความหมาย
กว้างเกินไปไม่มีความเฉพาะเจาะจง จึงต้องกำหนดคำสำคัญ
ในการสืบค้นใหม่ เช่นคำว่า “การลดปริมาณขยะ”

สืบค้นโดยใช้ keyword คำว่า “การลดปริมาณขยะ”


การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตต้องเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และหากนำข้อมูลมาจากเอกสาร บทความ บุคคล สถานที่ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องและชัดเจน
การพิจารณาว่าแหล่งข้อมูลใดมีความน่าเชื่อถือ สามารถสังเกตได้จากชื่อผู้เขียนหรือหน่วยงานที่ปรากฏชัดเจน ระบุวันที่ในการเผยแพร่ข้อมูล และแสดงแหล่งที่มาของข้อมูล เบอร์แหล่งที่มาของข้อมูลหากเป็นหน่วยงานควรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นโดยตรง หรือหากเป็นบุคคลก็ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และความเปรียบเทียบข้อมูลที่สืบค้นมาจากหลายแหล่ง
การรวบรวมข้อมูลเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหานั้นบางครั้ง
จำเป็นต้องใช้ความรู้จากหลากหลายศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูล
เพียงพอต่อการแก้ปัญหา หากสังเกตการแก้ปัญหาต่างๆที่อยู่
รอบตัวจะพบว่า ต้องใช้ความรู้จากหลากหลายศาสตร์มาประกอบกัน
จึงจะสามารถหาวิธีแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น
การทำฝนเทียมเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งนั้นจะต้องนำความรู้
จากหลายๆศาสตร์มาใช้ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ในขั้นตอนการทำให้
เกิดก้อนเมฆเพื่อนำไปสู่การเกิดฝนนั้นจะต้องใช้ความรู้ทางเคมี
ในการนำเกลือโซเดียมคลอไรด์มาโปรยในอากาศเพื่อให้การดูดซับ
ไอน้ำจากนั้นจึงกลั่นตัวเป็นเม็ดน้ำ แล้วรวมกันจนเกิดเป็นก้อนเมฆ
และต้องใช้ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาเพื่อตรวจสอบว่าทิศทางลม
และสภาพอากาศแบบใดที่เหมาะสมในการทำให้เกิดเมฆได้ง่ายที่สุด

กิจกรรมที่ 4.3 กำหนดประเด็นรวบรวมข้อมูล
ให้นักเรียนกำหนดประเด็นเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแนวทาง
การแก้ปัญหาที่แต่ละกลุ่มได้เลือกไว้อย่างน้อย 3 ประเด็น พร้อมระบุแหล่ง
ข้อมูลที่ต้องการสืบค้นในแต่ละประเด็น