
บทที่ 1 แนวคิดเชิงนามธรรม
Chapter 1 Abstract Thinking (Abstraction)
บทที่ 1 แนวคิดเชิงนามธรรม (Chapter 1 Abstract Thinking)
เป็นบทเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการเเก้ปัญหาโดยนำแนวคิดเชิงนามธรรมมาประยุกต์ใช้จะทำให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมาขึ้นประกอบด้วยหัวข้อ
1.1 แนวคิดเชิงนามธรรม
1.2 การคัดเลือกคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา
1.3 การถ่ายทอดรายละเอียดของปัญหาและการแก้ปัญหา
จุดประสงค์ของบทเรียน
1.อธิบายวิธีการนําแนวคิดเชิงนามธรรมมาใช้วิเคราะห์โจทย์ปัญหาและถ่ายทอดแนวคิด
2.วิเคราะห์รายละเอียดที่จําเป็นของปัญหาออกจากรายละเอียดที่ไม่จําเป็น และอธิบายรายละเอียดที่ไม่ครบถ้วน
3.ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงนามธรรม


..........ในชีวิตประจําวัน นักเรียนคงเคยพบกับปัญหาที่ไม่รู้ว่าจะแก้ไขหรือดําเนินการอย่างไร นั่นอาจเป็นเพราะนักเรียนยังไม่เข้าใจปัญหาดีพอ เช่น นักเรียนต้องเดินทางไปสถานที่แห่งหนึ่ง ด้วยรถโดยสาร นักเรียนอาจตอบว่าไม่เคยไป จะไปได้อย่างไร หากนักเรียนพิจารณารายละเอียด ต่อไปว่า สถานที่นั้นอยู่ที่ใด มีสถานที่ใดบ้างที่อยู่ใกล้เคียง ก็อาจทําให้นักเรียนนึกออกว่าจะสามารถ เดินทางไปได้ หลังจากนั้นจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีรถโดยสารใดผ่านบ้าง แต่ถ้ารถนั้นไม่ผ่าน บ้านเราจะทําอย่างไร ต้องเดินทางไปต่อรถที่ใด ราคาค่าโดยสารเป็นเท่าใด
..........การพิจารณารายละเอียดของปัญหาการเดินทางของนักเรียน ทําให้เข้าใจเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง และทําให้ทราบประเด็นที่สําคัญ เพื่อนําไปสู่วิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ


ทบทวนความรู้ก่อนเรียน
เมื่อนักเรียนมีปัญหาหรือคําถาม นักเรียนมีวิธีการอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
..........การออกแบบการแก้ปัญหาโดยนําแนวคิดเชิงนามธรรมมาประยุกต์ใช้ จะทําให้การแก้ปัญหา มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในบทนี้จะกล่าวถึงกระบวนการในการพิจารณารายละเอียดของปัญหา ซึ่งจะนําไปสู่วิธีการแก้ปัญหา
.....1.1 แนวคิดเชิงนามธรรม (Abstract Thinking ,Abstration)
..........แนวคิดเชิงนามธรรม (abstract thinking หรือ abstraction) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของแนวคิดเชิงคํานวณ (computational thinking) ซึ่งใช้กระบวนการคัดแยกคุณลักษณะที่สําคัญออกจากรายละเอียดปลีกย่อย ในปัญหา หรือ
งานที่กําลังพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จําเป็นและเพียงพอในการแก้ปัญหา

ชวนคิด
ถ้านักเรียนเขียนชื่อตนเองเป็นภาษาอังกฤษลงบนกระดาษ
เพื่อทําป้ายชื่อ จะเขียนได้กี่แบบ อะไรบ้าง


..........ในการแก้ปัญหาหนึ่งอาจมีวิธีการแก้ปัญหาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับการมองปัญหา การมองเห็นรายละเอียด
เป้าหมายของโจทย์ปัญหา และประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหา ดังตัวอย่างต่อไปนี้
..........ตัวอย่างที่ 1.1 คําทักทาย Hello ในภาษาอังกฤษรูปแบบต่าง ๆ
ชวนคิด

..........คําว่า Hello แต่ละตัวมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ผู้เขียนแต่ละคนมี จากตัวอย่าง จะเห็นรายละเอียดที่แตกต่างกัน เช่นสีรูปแบบอักษร (font) อักษรตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กและรายละเอียด อื่น ๆ เช่น การขีดเส้นใต้ หรือการเอียงของตัวอักษร โดยรูปแบบที่แต่ละคนมีอยู่ ถ้าจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นรับรู้ และเข้าใจทุกอย่างแทบจะเป็นไปไม่ได้ และอาจจะไม่มีความจําเป็นที่ผู้อื่นต้องรับรู้รายละเอียดทั้งหมด
..........ในที่นี้หากผู้รับข้อมูลต้องการทราบว่าคํานี้ประกอบไปด้วยอักขระใดบ้าง โดยไม่สนใจประเภทของอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็ก คําว่า Hello ทุกตัวในตาราง ต่างก็มีองค์ประกอบเชิงนามธรรมเดียวกัน คือ เป็นคําที่ประกอบด้วยอักขระ H, E, L, L, และ O แต่ในบางสถานการณ์อาจจะสื่อว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นเพียงอักขระภาษาอังกฤษ 5 ตัว หรือเป็นคําภาษาอังกฤษเพียงหนึ่งคํา
..........ตัวอย่างที่ 1.2 คัดกรองรายละเอียดของคําว่า HELLO เมื่อระบุความต้องการที่แตกต่างกันดังนี้
.............- ข้อมูลประกอบด้วยอักขระใดบ้าง แต่ละอักขระเป็นอักษรตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่ และมีสีอะไร
.............- ข้อมูลประกอบด้วยอักขระใดบ้าง แต่ละอักขระประกอบด้วยสีอะไร
.............- ข้อมูลประกอบด้วยอักขระใดบ้าง
.............- ข้อมูลประกอบด้วยอักขระที่ตัว
.............- ข้อมูลประกอบด้วยคําที่คํา
..........คําอธิบายคุณลักษณะของคําว่า HELLO ตามความต้องการแต่ละรายการวมถึงรูปแบบต่าง ๆ แสดง
ให้เห็นดังตาราง 1.1
..........ตาราง 1.1 คําอธิบายคุณลักษณะของคําว่า HELLO ตามรายละเอียดที่ต้องการ



กิจกรรมที่ 1.1 เรื่องบ้านในจินตนาการ