
บทที่ 2 แนวคิดเชิงคำนวณ
Chapter 2 Computational Thinking
บทที่ 2 แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)
เป็นบทเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจ เห็นคุณค่า และกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้การสื่อ การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยหัวข้อ
2.1 การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย
2.2 การพิจารณารูปแบบ
2.3 การคิดเชิงนามธรรม
2.4 การออกแบบอัลกอริทึม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงคำนวณ
2. ออกแบบการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงคำนวณ
.png)
2.2 การพิจารณารูปแบบ (Pattern Recognition)
ปัญหาบางประเภทสามารถแบ่งออกเป็นปัญหาย่อยที่อาจจะมีรูปแบบเดียวกันหรือคล้ายกัน นักเรียน สามารถนํารูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาย่อยปัญหาหนึ่งไปประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาย่อยอื่น ๆ ได้ ทําให้ลดขั้นตอนในการออกแบบวิธีการแก้ปัญหาได้
ตัวอย่างที่ 2.2 รูปแบบในภาพวาดหมู่บ้าน

จากปัญหาภาพวาดในตัวอย่างที่ 2.1 นักเรียนอาจจะอธิบายคําตอบของปัญหาย่อยได้ดังนี้
ปัญหาย่อยที่ 1 ในภาพมีบ้านหลัง
คําตอบ ในภาพมีบ้าน 3 หลัง
ปัญหาย่อยที่ 2 ขั้นตอนในการวาดบ้านหลังแรกเป็นอย่างไร และอยู่ที่ตําแหน่งใด
คําตอบ หลังแรกวาดตัวบ้านด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีเหลืองขนาดด้านละ 100 หน่วย ตั้งอยู่ตําแหน่ง มุมล่างซ้ายที่พิกัด
(0, 0) ด้านบนสี่เหลี่ยมวาดหลังคาด้วยรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสีม่วงขนาดด้านละ 100 หน่วย
ปัญหาย่อยที่ 3 ขั้นตอนในการวาดบ้านหลังที่สองเป็นอย่างไร และอยู่ที่ตําแหน่งใด
คําตอบ บ้านหลังที่สองวาดตัวบ้านด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดงขนาดด้านละ 50 หน่วย ตั้งอยู่ตําแหน่ง มุมล่างซ้ายที่พิกัด (120, 90) ด้านบนสี่เหลี่ยมวาดหลังคาเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสีเทาขนาดด้านละ 50 หน่วย
ปัญหาย่อยที่ 4 ขั้นตอนในการวาดบ้านหลังที่สามเป็นอย่างไร และอยู่ที่ตําแหน่งใด
คําตอบ บ้านหลังที่สามวาดตัวบ้านด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีเขียวขนาดด้านละ 80 หน่วย ตั้งอยู่ตําแหน่ง มุมล่างซ้ายที่พิกัด (200, 10) ด้านบนสี่เหลี่ยมวาดหลังคาเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสีฟ้าขนาดด้านละ 80 หน่วย

รูป 2.2 องค์ประกอบของบ้าน
แม้ว่ากระบวนการข้างต้นสามารถ สื่อความได้ครบถ้วน และผู้ที่นําไปปฏิบัติ ตามมีแนวโน้มที่จะวาดภาพหมู่บ้าน ได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับ แต่เราสามารถทํา กระบวนการนี้ให้กระชับขึ้นได้โดยอาศัย การพิจารณารูปแบบของบ้านทั้งสามหลัง ที่มีองค์ประกอบคล้ายกัน คือ มีตัวบ้าน หลังคา ตําแหน่งมุมล่างซ้าย และขนาด เป็นองค์ประกอบหลัก แต่มีสีและค่าที่ แตกต่างกัน ดังรูป 2.2

ชวนคิด
“ราคารวมสินค้าทั้งหมดกี่บาท” ตอน 2
ลองพิจารณาข้อมูลที่จําเป็นต่อการคํานวณต่อไปนี้ แล้วทําเครื่องหมายวงกลมล้อมรอบข้อความที่ปรากฏขึ้น ซ้ํา ๆ กันในทุกรายการ
o จํานวนสบู่ o ราคาสบู่
o จํานวนยาสระผม o ราคายาสระผม
o จํานวนหนังสือ o ราคาหนังสือ
o จํานวนแปรงสีฟัน o ราคาแปรงสีฟัน
o จํานวนแก้ว o ราคาแก้ว
o ราคาไม้บรรทัด o จํานวนไม้บรรทัด
o จํานวนกรรไกรแบบที่ 1 o ราคากรรไกรแบบที่ 1
o จํานวนกรรไกรแบบที่ 2 o ราคากรรไกรแบบที่ 2


